Wednesday, February 25, 2009

เร่งรีบติดตั้ง แล้วกลับมาซ่อม ค่าเสียหายใครควรจ่าย


วิธีการทำงาน คุณภาพงาน ความเร่งด่วน แผนงานที่เราไม่สามารถเป็นผู้กำหนด
ผมเคยประสพกับโครงการใหญ่ โครงการหนึ่ง ใช้เวลาเจรจาเรื่องราคายาวนานมาก เนื่องจากระหว่างการเจรจาวัสดุก่อสร้างต่างๆ ขึ้นราคาจากพุ่งพรวด และมีการขยับขึ้นทุกวัน ทั้งปัญหาน้ำมันขึ้นราคา เหล็กปูน ขึ้นราคา ค่าแรงงานขั้นต่ำขยับตัวสูงขึ้น กว่าการเจรจาจะจบ ปรากฏว่า เลยเวลาเริ่มของแผนงานมา 2 1/2 เดือน รวมกับเวลาตั้งหลัก(mobilization) 15-30 วัน รวมกันร่วม 3.5 เดือนที่เ ริ่มงานช้ากว่าแผน  แต่ Milestone ต่างๆ ยังคงเร่งรัด มีค่าปรับ การลงนามสัญญาล่าช้าออกไปอีก สุดท้ายค่าปรับเอาออก แต่ยังมีเป้าหมายเดิมอยู่ โหมทั้งคนทั้งทีมบริหารเข้าไป จัดการหล่อ Precast Piperack สูงขนาด ตึก 3-4 ชั้น (11-12 m) แล้วยกไปตั้ง เป็นหลายๆร้อยต้น งานแล้วเสร็จก่อน Milestone ผู้ว่าจ้าง เอา Incentive ไปกิน ได้เงิน Milestone Payment แถมยังไม่ต้องเสียค่าปรับ Milestone อีกด้วย งานติดตั้ง Piperack เรียบร้อย งานท่องานเหล็กและงานอื่นๆ ก้อเอาขึ้นไปติดตั้ง ระเกะระกะไปหมด 
ถึงเวลาต่อมา ... พบว่า มีความต้องการซ่อมผิวของ Precast Pipe Rack ที่ติดตั้งไปแล้วทั้งหมด มากกว่า 100 ต้น ค่าตั้งนั่งร้าน หรือบันได หรือ บูมลิฟท์ หรืออะไรก้อได้ ที่เอาคนขึ้นไปซ่อมงานได้ ประมาณการแล้วไม่น่าจะต่ำกว่า 10 ล้าน เพราะค่านั่งร้านอย่างเดียวปาไป 5 ล้าน ยังไม่รวมค่าแรงงาน ค่าวัสดุซ่อม ค่า Supervision ค่างาน QA/QC and Safety Control, Hand Over Works คาดว่า ไม่ต่ำกว่า 5 ล้านเช่นกัน
ถ้าผมเป็นเถ้าแก่เอง ผมคงหน้ามืดลมใส่ กับค่าซ่อมที่สูงขนาดนี้ แต่ตรงนี้ ใครคงจะต้องรับผิดชอบบ้าง ...
ก้อต้องมาดูว่า ความจริงคือ งานถูกเร่งรัดให้ติดตั้ง เพื่อให้ทัน Milestone แค่จะหล่อให้ทันยังไม่ค่อยจะทันอยู่แล้ว ขนาดใช้ปูนพิเศษ ให้กำลังไว หล่อแล้วไม่ต้องรอนาน ยกได้เลย อารามรีบร้อนของผู้ว่าจ้าง อะไรก้อได้ ติดๆตั้งๆ ให้มันทันแบบไม่มีค่าปรับ แล้วได้เงิน Milestone
ถ้างานนี้ ผู้รับจ้างต้องรับผิดชอบจ่ายแต่ฝ่ายเดียว ผู้ว่าจ้างก้อคงขำอยู่ในใจ แล้วล่ะ "ว่ากินหมูอีกแล้วและงานหน้าจะมีหมูอะไรกินต่ออีก"

Thursday, February 19, 2009

ต่างชาติ โกง บริษัท ก่อสร้าง คนไทย แบบไหนบ้าง ตอน 2


งานก่อสร้างส่วนใหญ่ มักมีงานที่บอกว่า เป็นงาน prelim. เช่นการหาระดับหรือแนวอ้างอิง การทำแผนที่ Topo การสำรวจดิน การหาข้อมูลเบื้องต้น ต่างๆ งานตรงนี้ หารายการเบิกเงินไม่ได้ในหลายโครงการ แต่มักมั่วนิ่มว่า อยู่ในส่วนของ Indirect Cost ซึ่งจริงๆแล้ว ก้อควรจะมีเผื่อไว้ตรงนั้นด้วย / งาน Safety ต้องแยกขอบเขตให้ชัดเจน ว่า ส่วนที่จะต้องรับผิดชอบอยู่แค่ไหน บางสัญญา ไปลอกมาแต่ให้มีการดำเนินการด้วยแม้ไม่มีค่าใช้จ่ายให้ การทำความสะอาด ยาม และส่วนอื่นๆ ที่ main ต่างชาติ มักโยนความรับผิดชอบให้ ทีนี้มาดูระหว่างการก่อสร้างบ้าง ว่าอะไรที่จับมาเป็นประเด็นได้บ้าง
  • การมาของแบบก่อสร้างล่าช้า ผลก้อคือการ Standby ของแรงงานและเครื่องจักร - คน 100 คน หยุดรองาน 1 วัน ค่าเสียหาย ประมาณ 35,000 บ/วัน หรือ 3,500 บ/ชม เฉพาะส่วนที่บอกว่า เป็น Direct/Indirect ของแรงงาน ถ้าในวันหนึ่ง ไม่สามารถทำงานได้ผลงาน ถึง 35,000 บาท แสดงว่า แรงงานอยู่ในสถานะ Standby แล้ว ทุกโครงการ ที่ล่าช้า จากปัญหาของแบบ การส่ง Approve วัสดุ แต่สุดท้ายภาระเกิดกับคนจ่ายเงิน หรือบริษัทที่เข้ามารับงาน กรณี ที่มีแรงงาน 300 คน มีงานทำบ้างไม่มีบ้างในช่วง 2 เดือนแรกของเดือน ควรต้องต้องเร่งรัดทำปริมาณที่ทำได้เสนอ และค่าใช้จ่ายจริงแจ้งไว้ เพื่อเป็นการเร่งรัด และการบันทึกไปในตัว 
  • Construction Drawing ที่ยังไม่ Approved หรือการสั่งการใดๆ ด้วยปากเปล่า ไม่ทำตาม คนงานก้อจะต้องนั่งรองาน ต้องบังคับให้เซ็นต์สั่ง Site Instruction ให้ชัดเจน ยิ่งงานเริ่มต้นโครงการ ยิ่งมีความจำเป็นที่ต้องรอบคอบมาก เช่นมาีการสั่งให้กองดินจากการขุดในหน่วยงาน ระยะเวลาไม่กี่วัน ดินอาจมากหลายแสนคิว กรณีที่ต้องย้ายกองดิน อาจมีค่าใช้จ่ายสูงถึง 10 ล้านบาท หรือมากกว่า การประชุมการตัดสินใจ จะต้องมีความชัดเจนมีบันทึกรายงานการประชุม การประชุมกันทุกวัน โดยไม่มีการบันทึก จะมีความเสียหายมาก ขณะนี้มีหลายโครงการมีประชุมกันทุกวัน ผ่านมา 6 เดือน ไม่มีอะไรเก็บไว้เป็นหลักฐานการสั่งงาน 
  • เคยมีกรณี น้ำท่วม พื้นที่ก่อสร้าง เนื่องจากน้ำทะเล ทะลักเข้ามา เครื่องจักร อุปกรณ์จำนวนมาก จมน้ำ มีค่าเสียหายสูงกว่า 40 ล้าน มีการขึ้นศาลจากการฟ้องร้องของเจ้าของเครื่องจักรเรียกค่าเสียหาย มีการสืบพยานซึ่งเป็นเรื่องทาง เทคนิค การก่อสร้าง ศาลหรือผู้พิพากษา เข้าใจบ้างไม่เข้าใจบ้าง แถมมีเรื่อง Safety และอำนาจในการสั่งการ main contractor โยนภาระ ให้ sub อ้างว่ามีประสบการณ์ จึงจ้างมาทำงาน sub ก้ออ้างว่า main เป็นคนสั่ง หาเอกสารสั่งการหรือการตัดสินใจใดๆไม่เจอ ทั้งที่ ในการทำงานจริงแล้วนั้น main จะเป็นคนสั่งซ้ายสั่งขวา โดยตลอด เพราะมีอำนาจในการปลด ผจก.โครงการของ sub ตรงนี้ เลยเป็นเหตุให้ main หนีความรับผิดชอบไปไม่ได้ - คนจ่ายแล้วหรือเสียหายแล้วมักเป็นฝ่ายเสียเปรียบ การบันทึกจึงมีความจำเป็นมาก
  • อีกกรณีหนึง การเปลี่ยนแปลง ระดับ Finsih Grade ของโครงการ ในการเตรียมพื้นที่ของโครงการก่อสร้าง การปรับระดับพื้นดินของทั้งโครงการ กรณีที่ดำเนินการเสร็จทั้งหมดแล้ว มีการเปลี่ยนแปลงระดับ Finsih Grade ใหม่ ย่อมหมายถึงต้องมีการตัดหรือถม และบดอัดใหม่ การดำเนินการลักษณะเปลี่ยนแปลงนี้ ย่อมเป็นการทำงานที่อาจเรียกว่า Double Works ก่อนที่จะทำการเปลี่ยนแปลง จำเป็นต้องทำปริมาณที่ทำแล้วเสร็จแล้ว ให้ทุกฝ่ายรับรู้ และส่วนงานที่จะต้องทำใหม่มีปริมาณเท่าใด ให้ชัดเจน เพราะสุดท้ายการอ้างอิงถึงจะอ้างถึงแบบจริง Approval for Construction Drawing หรือ AFC Drawing ซึ่งมักมีผลในการวัดจริงกับ Topo เดิม
  • Design and Material Selection ปกติ ในงาน Turn Key นั้น main contractor จะออกแบบและเลือกวัสดุที่ใช้ในส่วนงานต่างๆ เช่น การใช้ Waterstop แบบ Swelling Type กับ Construction Joint, การเลือกวัสดุ Linning ของ Concrete Tank, การใส่ เหล็กเสริม พิเศษ, การตัด Joint ของกำแพง ตามข้อกำหนด 

ต่างชาติ โกง บริษัท ก่อสร้าง คนไทย แบบไหนบ้าง ตอน 1



หลากหลายรูปแบบ ของการเอารัดเอาเปรียบ ส่วนใหญ่ บริษัทข้ามชาติ เกาหลี และญี่ปุ่น ที่เข้ามารับงานก่อสร้างใหญ่ๆ ในไทย ที่พบบ่อยที่สุด คือการทำสัญญาที่ไม่เป็นธรรม เช่น

สัญญางานส่วนใ1หญ่เป็น สัญญา ผู้รับเหมาช่วง Subcontract Agreement แต่มอบความรับผิดชอบ ต่างๆไว้มากมาย บางโครงการเอาไปผูกไว้กับ สัญญาใหญ่ ทั้งๆที่ไม่มีโอกาส แม้จะได้เห็น ค่าปรับงานล่าช้า การทำโครงสร้างชั่วคราวต่างๆ งานความปลอดภัย 
  • กรณีนี้มีตัวอย่างงาน อุโมงค์ส่งน้ำคอนกรีต ซึ่งมีความต้องการโครงสร้างชั่วคราว ที่มีค่าใช้จ่ายสูงถึง 30-40 ล้าน ทั้งที่โครงสร้างหลัก แค่ 12 ล้าน
  • งาน ชีตไพล์ สำหรับงาน อุโมงค์รับน้ำ ทั้งที่งานดำเนินการแบบ Open Cut คือขุดเปิด แล้วมีการรักษา slope ของดิน ซึ่งค่าซีตไพล์ และค่าขุดดินภายใน สูงมากกว่า 45 ล้าน 
  • การผูกงานใหม่ กับงานใน พท.เฉพาะ หรือส่วนของโรงงานที่กำลังเดินเครื่องจักรอยู่ เช่นงานในโรงแยกแก๊ส ค่าแรงงานคอนกรีต 450 บ/ม3 แต่พอไปทำใน พท.เฉพาะ อาจมีค่าใช้จ่ายสูงมาก บางครั้ง อาจสูงกว่า 5,000 บ/ม3 หลังจากที่มีการเก็บค่าใช้จ่ายจริง หรือมูลค่าที่เบิกเงินได้ แค่ 10 ล้าน แต่จ่ายไปจริงๆ มากกว่า 100 ล้าน สำหรับการหยุดรองาน การทำงานไม่สะดวกของคนและเครื่องจักร ความต้องการในด้านความปลอดภัยสูง การเข้าถึง และ พท.การทำงาน ยาก ลักษณะงาน อาจยากกว่า งาน Shut Down เพราะต้องทำงานขณะที่มีการเดินเครื่องจักร
  • แผนงานที่เร่งรัดเกินจริง ตอนรับงานส่วนใหญ่อารามดีใจที่ได้งานใหม่ แต่ลืมดูว่าแผนงานสามารถทำได้หรือไม่ มีค่าปรับในแต่ละ Milestone ต้องจัด คนงาน และวิศวกร เข้าไปดูแลจำนวนมาก บางโครงการเร่งรัดได้ทันตามแผนงาน ผู้รับเหมาต่างชาติได้เงินพิเศษจากงานเสร็จไวกว่าแผน แต่บริษัทคนไทย ต้องมาตามซ่อมงาน เฉลี่ยสูงกว่า 200 บาทของ พท.ผิว คอนกรีต
  • การจัดหาวัสดุ เหล็กเสริม หรือ คอนกรีตให้ ตรงนี้ ต้องมีความรอบคอบเป็นพิเศษ เพราะลวดผูกเหล็ก วัสดุซ่อมคอนกรีต, วัสดุรอยต่อ Joint, Waterstop, วัสดุบ่มคอนกรีต และอื่นๆ ที่ไม่มีในรายการ้องสามารถเบิกเงินได้ เพิ่มในส่วนการวัดปริมาณ และ %Watse ในส่วน Method of Measurement มักไปลอกโครงการเก่าๆ ที่รวม Lapping, Bar Chair, Dowel ในส่วนนี้จำเป็นต้องคิดรวมไปทั้งหมดด้วย
  • การตัดทอนบางรายการหรือเปลี่ยนแปลงข้อตกลงระหว่างการตกลงราคาประมูล ข้อความที่เพิ่มเข้ามา เช่นไม้แบบ ต้องประกอบด้วย ค้ำยันไม้แบบ นั่งร้าน หรือคอนกรีต รวม Bolt / Plate / Waterstop งานดิน รวมค่าบดอัด ทำระดับ ค่าสูบน้ำ ค่าทดสอบ ค่าปรับปรุงสภาพ <-ตรงนี้เยอะมาก 
  • ระยะเวลาประกันผลงาน ส่วนใหญ่งาน Turn Key จะมีระยะเวลาประกันผลงานนานมากถึง 5 ปี แต่ในส่วนงาน ผู้รับเหมาย่อยควรต้องลดทอนเวลามาอยู่ 12 เดือน หรือมากสุด 18 เดือน หรือต้องมีการประเมินความเสียหายว่าเกิดจากอะไรไว้ด้วย 
  • ช่วงตกลงราคา กับช่วงเวลาทำงาน ส่วนใหญ่คนที่ทำงานช่วงตกลงราคาเป็นคนละทีมที่มาทำงาน สุดท้ายต้องเอาที่อยู่ในกระดาษเป็นหลัก สุดท้ายก้อไปโทษ คนลงนามในสัญญา ซึ่งเป็นบุคคลที่จะกล่าวโทษไปไม่ถึง เนื่องจาก การตรวจสัญญาเบื้องต้นควรดำเนินการอย่างรัดกุม แต่บ่อยครั้ง ความล่าช้าของ Advance Payment กลายเป็นสิ่งที่มาเร่งรัดให้มีการลงนามในสัญญาแม้ยังแก้ไขไม่ถูกต้อง หรือมีการยัดใส้สิ่งแปลกปลอมเข้ามาด้วย นี่ละครับที่บอกว่า โกงหรือฉ้อฉลในเรื่องของสัญญา อีกทั้งตกลงว่า จะไปขึ้นศาลที่สิงค์ไปร์บ้าง ในต่างชาติบ้าง ตรงนี้ผิดตั้งแต่ส่วนเจ้าของงานคนไทย ที่ต้องจัดการกับ ผู้รับเหมาที่เข้ามาเอารัดเอาเปรียบคนไทยด้วยกัน 
-----> ยังมีต่อ บทความหน้า

Saturday, February 7, 2009

Design Change and Impacted Cost


การเปลี่ยนแปลง Concept Design มีผลต่อค่าใช้จ่ายในการทำงาน โดยเฉพาะการเปลี่ยน ในโครงสร้างสำคัญ และมีขนาดใหญ่ของโครงการ กรณี ของการเปลี่ยน Steel Structure มาเป็น Concrete Frame กรณีนี้ ส่งผลให้มีค่าใช้จ่ายสูงมาก อีกทั้ง การวางแผนกำลังคนและเครื่องจักร จะเปลี่ยนไปด้วย


เราลองมาคิดง่ายๆ ว่า ถ้าเราเปลี่ยนจาก คานเหล็กมาเป็นคานคอนกรีต ที่ระดับความสูง 12 เมตร จะต้องใช้อะไรบ้าง

คานเหล็ก ใช้เวลาติดตั้งน่าจะอยู่ประมาณ 30 นาที คนงานประกอบ 2-3 คน

แต่กรณีคานคอนกรีต อาจต้องใช้เวลา 4-5 วัน และใช้แรงงาน หลากหลายประเภท

เริ่มจากการติดตั้งนั่งร้าน + ค้ำยัน 3-4 คน

ปรับเหล็กที่ข้างเสา ติดตั้งไม้ท้องคาน ทำระดับ ใช้ช่างไม้ 2-3 คน อาจจะต้อง มีการใช้กล้องช่วย

ติดตั้งเหล็กเสริม + ติด Embedded Plate คนทำงานผูกเหล็ก 3-4 คน

ปิดข้างแบบ ยึดแบบ ขีดระดับเทคอนกรีต ใช้ช่างไม้ อีก 3-4 คน

เทคอนกรีต อันนี้ ก้อต้องใช้ คนเทคอนกรีต อีก 3-4 คน เช่นกัน

หลังจากเทคอนกรีตเสร็จ รื้อแบบ ซ่อมผิว รื้อนั่งร้าน

แต่ที่ลืมไม่ได้เลย คือต้องใช้ เครน 1 ตัว คอยส่งวัสดุ อีก กรณีไม่ใช้เครน ก้อต้องใช้แรงงาน จำนวนมากในการลำเลียงวัสดุอุปกรณ์ ต่างๆ แค่นี้ ค่าใช้จ่ายต่างๆ มากมายในแต่ละขั้นตอน
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://italianthai.doubleclickspace.com/Case1651/EXTRAS.htm
ค่าใช้จ่ายต่างๆที่เพิ่มขึ้น เป็นเหตุผลหลัก ที่ต้องเรียกว่า Extra
Why its call Extra – Super Structure
For All Steel Frame replaced by Concrete Frame could be called Extra Super Structure caused by;
1.Scaffolding Requirement, More Quantity and Long Period
2.Equipment Cost for Crane and Others for High & Slow Works
3.Manpower Increasing with low efficiency, it was not plan
4.PPE and Delay of Safety Control, Falling Control, Tag System
5.Indirect Cost by Increasing Manpower, camp, transportation, admin., supervision, safety and etc.-
6.All area required in the same time, no round of using and long time maintaining
7.Catch Up original construction for delay of concrete construction method which slower than steel structure