งานก่อสร้างส่วนใหญ่ มักมีงานที่บอกว่า เป็นงาน prelim. เช่นการหาระดับหรือแนวอ้างอิง การทำแผนที่ Topo การสำรวจดิน การหาข้อมูลเบื้องต้น ต่างๆ งานตรงนี้ หารายการเบิกเงินไม่ได้ในหลายโครงการ แต่มักมั่วนิ่มว่า อยู่ในส่วนของ Indirect Cost ซึ่งจริงๆแล้ว ก้อควรจะมีเผื่อไว้ตรงนั้นด้วย / งาน Safety ต้องแยกขอบเขตให้ชัดเจน ว่า ส่วนที่จะต้องรับผิดชอบอยู่แค่ไหน บางสัญญา ไปลอกมาแต่ให้มีการดำเนินการด้วยแม้ไม่มีค่าใช้จ่ายให้ การทำความสะอาด ยาม และส่วนอื่นๆ ที่ main ต่างชาติ มักโยนความรับผิดชอบให้ ทีนี้มาดูระหว่างการก่อสร้างบ้าง ว่าอะไรที่จับมาเป็นประเด็นได้บ้าง
- การมาของแบบก่อสร้างล่าช้า ผลก้อคือการ Standby ของแรงงานและเครื่องจักร - คน 100 คน หยุดรองาน 1 วัน ค่าเสียหาย ประมาณ 35,000 บ/วัน หรือ 3,500 บ/ชม เฉพาะส่วนที่บอกว่า เป็น Direct/Indirect ของแรงงาน ถ้าในวันหนึ่ง ไม่สามารถทำงานได้ผลงาน ถึง 35,000 บาท แสดงว่า แรงงานอยู่ในสถานะ Standby แล้ว ทุกโครงการ ที่ล่าช้า จากปัญหาของแบบ การส่ง Approve วัสดุ แต่สุดท้ายภาระเกิดกับคนจ่ายเงิน หรือบริษัทที่เข้ามารับงาน กรณี ที่มีแรงงาน 300 คน มีงานทำบ้างไม่มีบ้างในช่วง 2 เดือนแรกของเดือน ควรต้องต้องเร่งรัดทำปริมาณที่ทำได้เสนอ และค่าใช้จ่ายจริงแจ้งไว้ เพื่อเป็นการเร่งรัด และการบันทึกไปในตัว
- Construction Drawing ที่ยังไม่ Approved หรือการสั่งการใดๆ ด้วยปากเปล่า ไม่ทำตาม คนงานก้อจะต้องนั่งรองาน ต้องบังคับให้เซ็นต์สั่ง Site Instruction ให้ชัดเจน ยิ่งงานเริ่มต้นโครงการ ยิ่งมีความจำเป็นที่ต้องรอบคอบมาก เช่นมาีการสั่งให้กองดินจากการขุดในหน่วยงาน ระยะเวลาไม่กี่วัน ดินอาจมากหลายแสนคิว กรณีที่ต้องย้ายกองดิน อาจมีค่าใช้จ่ายสูงถึง 10 ล้านบาท หรือมากกว่า การประชุมการตัดสินใจ จะต้องมีความชัดเจนมีบันทึกรายงานการประชุม การประชุมกันทุกวัน โดยไม่มีการบันทึก จะมีความเสียหายมาก ขณะนี้มีหลายโครงการมีประชุมกันทุกวัน ผ่านมา 6 เดือน ไม่มีอะไรเก็บไว้เป็นหลักฐานการสั่งงาน
- เคยมีกรณี น้ำท่วม พื้นที่ก่อสร้าง เนื่องจากน้ำทะเล ทะลักเข้ามา เครื่องจักร อุปกรณ์จำนวนมาก จมน้ำ มีค่าเสียหายสูงกว่า 40 ล้าน มีการขึ้นศาลจากการฟ้องร้องของเจ้าของเครื่องจักรเรียกค่าเสียหาย มีการสืบพยานซึ่งเป็นเรื่องทาง เทคนิค การก่อสร้าง ศาลหรือผู้พิพากษา เข้าใจบ้างไม่เข้าใจบ้าง แถมมีเรื่อง Safety และอำนาจในการสั่งการ main contractor โยนภาระ ให้ sub อ้างว่ามีประสบการณ์ จึงจ้างมาทำงาน sub ก้ออ้างว่า main เป็นคนสั่ง หาเอกสารสั่งการหรือการตัดสินใจใดๆไม่เจอ ทั้งที่ ในการทำงานจริงแล้วนั้น main จะเป็นคนสั่งซ้ายสั่งขวา โดยตลอด เพราะมีอำนาจในการปลด ผจก.โครงการของ sub ตรงนี้ เลยเป็นเหตุให้ main หนีความรับผิดชอบไปไม่ได้ - คนจ่ายแล้วหรือเสียหายแล้วมักเป็นฝ่ายเสียเปรียบ การบันทึกจึงมีความจำเป็นมาก
- อีกกรณีหนึง การเปลี่ยนแปลง ระดับ Finsih Grade ของโครงการ ในการเตรียมพื้นที่ของโครงการก่อสร้าง การปรับระดับพื้นดินของทั้งโครงการ กรณีที่ดำเนินการเสร็จทั้งหมดแล้ว มีการเปลี่ยนแปลงระดับ Finsih Grade ใหม่ ย่อมหมายถึงต้องมีการตัดหรือถม และบดอัดใหม่ การดำเนินการลักษณะเปลี่ยนแปลงนี้ ย่อมเป็นการทำงานที่อาจเรียกว่า Double Works ก่อนที่จะทำการเปลี่ยนแปลง จำเป็นต้องทำปริมาณที่ทำแล้วเสร็จแล้ว ให้ทุกฝ่ายรับรู้ และส่วนงานที่จะต้องทำใหม่มีปริมาณเท่าใด ให้ชัดเจน เพราะสุดท้ายการอ้างอิงถึงจะอ้างถึงแบบจริง Approval for Construction Drawing หรือ AFC Drawing ซึ่งมักมีผลในการวัดจริงกับ Topo เดิม
- Design and Material Selection ปกติ ในงาน Turn Key นั้น main contractor จะออกแบบและเลือกวัสดุที่ใช้ในส่วนงานต่างๆ เช่น การใช้ Waterstop แบบ Swelling Type กับ Construction Joint, การเลือกวัสดุ Linning ของ Concrete Tank, การใส่ เหล็กเสริม พิเศษ, การตัด Joint ของกำแพง ตามข้อกำหนด
No comments:
Post a Comment