Thursday, November 12, 2009

Pipe Jacking แบบ Micro-Tunneling







การวางท่อแบบไม่ขุดร่อง (Trench less) โดยเริ่มต้นด้วยการขุดบ่อด้านหัวและท้ายที่ต้องการวางแนวท่อ หลังจากนั้นท่อจะถูกดันจากบ่อหนึ่งไปยังอีกบ่อหนึ่งโดยใช้หัวเจาะเป็นตัวนำ ใช้กับท่อที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของท่อน้อยกว่า 1,000 มม. โดยมีระบบการดันท่อและวิธีการทำงานดังนี้
วิธีการ Pipe Jacking วิธีนี้จะต่างจากการ Pipe Jacking ธรรมดาที่ทำการดันตัวท่อเปล่าในแนวระดับเข้าไปในดิน ซึ่งสามารถเคลื่อนที่ผิดไปจากแนวที่กำหนดไว้ได้มาก สำหรับวิธีการนี้จะติดตั้งหัวเจาะนำไว้ที่ด้านหน้าท่อดันที่สามารถควบคุมทิศทางด้วยระบบเลเซอร์นำร่องที่แม่นยำกว่ามาก (คล้ายกับการเจาะอุโมงค์) โดยการดันหัวเจาะเข้าไปในพื้นดินโดยใช้ท่อและเครื่องจักรเป็นตัวดันในขณะที่เคลื่อนตัวไปข้างหน้า หัวเจาะจะดันและบดดินที่อยู่ข้างหน้าจนกลายเป็นดินเลน (ดินที่มีการผสมผสานกันกับน้ำและโพลิเมอร์) ซึ่งจะต้องใช้ความเร็วในการขุดเจาะแรงบดและแรงดันให้สมดุลกันเพื่อป้องกันไม่ให้ดินเคลื่อนตัวผิดทิศทาง
ระบบแรงดันที่ใช้ออกแรงดันตามต้องการ โดยเครื่องดันจะเป็นตัวดันหัวเจาะเข้าไปในดินเพื่อลดแรงเสียดทานระหว่างท่อกับดินในขณะที่ดันท่อเข้าไปในดิน เครื่องดันนี้ช่วยให้หัวเจาะและท่อเคลื่อนที่ไปตามองศาที่ถูกต้องและแม่นยำ ซึ่งแรงดันที่เหมาะสมจะอยู่ระหว่าง 150 – 1200 ตัน (ขึ้นอยู่กับขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของหัวเจาะ)
ระบบกำจัดดินเลนเพื่อกำจัดดินที่ถูกขุดออกไป โดยดินจะถูกลำเลียงออกจากอุโมงค์ โดยที่การไหลของดินเลนจะถูกปรับเพื่อควบคุมแรงดันด้านหน้าของหัวเจาะและทำให้แรงดันน้ำที่อยู่ใต้ดินกับดินมีความสมดุลย์กัน ดินเลนที่ถูกลำเลียงไปยังถังบรรจุจะถูกกำจัดออกไปให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อจะได้รองรับดินที่จะถูกขุดครั้งต่อไป
ระบบควบคุมทางอิเลคทรอนิคที่ควบคุมกระบวนการทำงานทั้งหมด ซึ่งการทำงานทุกขั้นตอนจะถูกควบคุมจากจุดเดียว โดยที่เลเซอร์และกล้องที่ติดตั้งกับหัวเจาะจะเป็นตัวตรวจจับแนวและระดับการดันท่อ ซึ่งจะใช้วิธีการสำรวจแบบดั้งเดิมเพื่อตรวจสอบแนวการดันท่อตามปกติ และใช้เทคโนโลยีที่ใช้กล้อง Gyroscope ควบคุมระบบทั้งหมดซึ่งเป็นวิถีแนวโค้ง







No comments: