พูดถึง “LEED” หลาย ๆ คนอาจจะยังไม่ทราบว่ามันคืออะไร LEED ย่อมาจาก “Leadership in Energy and Environmental Design” ซึ่งหมายถึงการเป็นผู้นำในการออกแบบเพื่อการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ซึ่ง LEED นี้ถูกพัฒนาขึ้นมาโดยองค์กรชื่อ USGBC (US Green Building Council) ของประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อเป็นตัวชี้วัดว่าอาคารแต่ละอาคารนั้นมีการออกแบบและก่อสร้างโดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและการใช้พลังงานมากน้อยแค่ไหน ซึ่งในอันที่จริงแล้วในหลาย ๆ ประเทศก็มีมาตรฐานในเรื่องดังกล่าวนี้อยู่เช่นกัน เช่น BREEAM ของประเทศอังกฤษ หรือ Green Star ของประเทศออสเตรเลีย แต่มาตรฐานที่กำลังเป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลายมากที่สุดในปัจจุบันน่าจะเป็น LEED โดยในนับจนปัจจุบันนี้มีโครงการที่ลงทะเบียนไว้แล้วเกือบ 20,000 โครงการ ซึ่งคงเป็นเพราะ LEED มีผลิตภัณฑ์ให้เลือกหลากหลายไม่ว่าจะเป็น LEED for New Construction ที่ผมกำลังจะอธิบายรายละเอียดกันต่อไปแล้วก็ยังมี LEED for Existing Building ซึ่งใช้กับอาคารที่มีอยู่เดิมโดยเน้นเพิ่มเติมในเรื่องของการบริหารอาคารด้วย และอีกหลาย ๆ ตัวไม่ว่าจะเป็น LEED for Homes, Core & Shell และ Commercial Interiors นอกจากนี้ LEED ยังมีการพัฒนามาตรฐานให้ทันสมัยอยู่เสมอ ซึ่งขณะนี้ LEED ก็ได้ออก Version ใหม่เป็น LEED Version 3 ซึ่งผมเองคงต้องไปตามศึกษาเพิ่มเติมว่ามีอะไรเปลี่ยนแปลงไปบ้าง แต่ส่วนที่ผมนำมาเขียนให้อ่านกันนี้จะเป็น LEED for New Construction Version 2.2 ซึ่งจะยังคงใช้กับโครงการใหม่ ๆ ได้ไปอีกอย่างน้อย 2-3 ปีครับ
http://www.usgbc.org/DisplayPage.aspx?CMSPageID=1997
เอกสารสัมนา
http://www.scribd.com/doc/13299069/GB-SeminarBangkok-Drjatuwat-LEED-AP
ตัวอย่าง
การประเมิน สถาปัตยกรรมสีเขียว มาตรฐานสหรัฐอเมริกา LEED
- LEED (Leadership in Energy & Environmental Design)
- สหรัฐอเมริกาโดยหน่วยงาน The U.S. Green Building Council (USGBC) ได้พัฒนาแบบประเมินอาคารสีเขียวที่เรียกว่า LEED (Leadership in Energy & Environmental Design) ซึ่งได้แยกเกณฑ์การให้คะแนนเป็นข้อ ๆ ดังนี้
1) Sustainable Site (14 คะแนน)
• Erosion & Sedimentation Control (Required)
• Site Selection
• Development Density
• Brownfield Redevelopment
• Alternative Transportation
• Reduced Site Disturbance
• Storm Water Management
• Heat Island Effect
• Light Pollution Reduction
2) Water Efficiency (5 คะแนน)
• Water Efficient Landscaping
• Innovative Wastewater Technology
• Water Use Reduction
3) Energy and Atmosphere (17 คะแนน)
• Fundamental Building Systems Commissioning (Required)
• Minimum Energy Performance (Required)
• CFC Reduction in HVAC&R Equipment (Required)
• Optimized Energy Performance
• Renewable Energy
• Additional Commissioning
• Ozone Depletion
• Measurement & Verification
• Green Power
4) Materials and Resources (13 คะแนน)
• Storage & Collection of Recyclables (Required)
• Building Reuse
• Construction Waste Management
• Resource Reuse
• Recycled Content
• Local / Regional Materials
• Rapidly Renewable Materials
• Certified Wood
5) Indoor Environmental Quality (15 คะแนน)
• Minimum IAQ Performance (Required)
• Environmental Tobacco Smoke Control (Required)
• Carbon Dioxide (CO2) Monitoring
• Ventilation Effectiveness
• Construction IAQ Management Plan
• Low-Emitting Materials
• Indoor Chemical & Pollutant Source Control
• Controllability of Systems
• Thermal Comfort
• Daylight & Views
6) Innovation and Design Process (5 คะแนน)
• LEED Accredited Professional
• Innovation in Design
อาคารที่เข้ารับการประเมินเมื่อรวมคะแนนทั้งหมด จากคะแนนเต็ม 69 คะแนน
-ได้คะแนนรวม 26-32 คะแนน จะได้ระดับ Certified
-ได้คะแนนรวม 33-38 คะแนน จะได้ระดับ Silver
-ได้คะแนนรวม 39-51 คะแนน จะได้ระดับ Gold
-ได้คะแนนรวม 52-69 คะแนน จะได้ระดับ Platinum
No comments:
Post a Comment