Thursday, August 25, 2011

จะสร้างมาตรฐานการประเมินค่าทรัพย์สินในไทยได้อย่างไร - ดร.โสภณ พรโชคชัย

จะสร้างมาตรฐานการประเมินค่าทรัพย์สินในไทยได้อย่างไร
กันยายน 2542
ดร.โสภณ พรโชคชัย
กรรมการผู้จัดการ Agency for Real Estate Affairs

มาตรฐานวิชาชีพเป็นสิ่งที่บรรลุได้ การประเมินค่าทรัพย์สินตามมาตรฐานสากลนั้นจำเป็นในทุกภาวะไม่เฉพาะในภาวะตกต่ำเช่นปัจจุบัน และมูลค่าที่ประเมินอย่างเป็นธรรมย่อมสะท้อนความเชื่อมั่นของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายในสังคมและโลกเดียวกันนี้ สิ่งที่ต้องจำให้มั่นก็คือมาตรฐานวิชาชีพที่ดีเป็นสิ่งที่สามารถบรรลุได้ไม่ยากเมื่อทุกฝ่ายร่วมใจกันสร้างขึ้น
ใช่ว่านักประเมินไทยส่วนใหญ่ไร้มาตรฐาน แพทย์อาจรักษาคนไข้ที่ไหนก็ได้ทั่วโลกเพราะสรีระคนย่อมเหมือนกัน แต่นักประเมินที่สามารถแต่ไม่เคยอยู่ในประเทศหนึ่งก็ไม่สามารถไปประเมินในประเทศนั้นได้ ในทางสากลเราจึงยอมรับกันเช่นนี้ ไม่มีทางนำเข้านักประเมินจากที่ไหนมาทำงานได้ เว้นแต่ต้องพัฒนานักประเมินของเราเอง ปัจจุบัน ไทยมีนักประเมินที่มีชื่อเสียง มีความสามารถและได้รับการศึกษาระดับสากลหลายท่าน ภารกิจของเราก็คือการสร้างคนเหล่านี้เพิ่มขึ้น
กรณีนักประเมินกระทำผิด/ถูกจับเพราะฉ้อโกงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ทั่วโลก แม้ในประเทศที่ถือว่ามีมาตรฐานดีที่สุด นี่เป็นเรื่องของบุคคลซึ่งมีได้ในทุกวงการ แม้ในวงการที่มีการควบคุมแน่นอน เช่น แพทย์ วิศวกร สถาปนิก ฯลฯ การฉอโกงอาจกระทำผู้เดียว ร่วมกับลูกค้า หรือกระทำร่วมกันทุกฝ่ายทั้งพนักงานสถาบันการเงิน/เจ้าหน้าที่รัฐ ถือเป็นความโชคร้ายที่ผู้ถูกจับเป็นเพื่อนร่วมวิชาชีพของผม แต่นักเป็นความโชคดีที่บริษัทที่ถูกจับเป็นบริษัทที่ได้ชื่อว่าเป็นบริษัทข้ามชาติ ไม่เช่นนั้นบริษัทไทย ๆ และวงการประเมินไทยคง "ป่นปี้" ไปกว่านี้
เมื่อประเมินผิดพลาดไป นักประเมินไม่อาจปฏิเสธความรับผิดชอบและการลงโทษได้ การลงโทษต้องพิจารณาตามฐานานุรูปว่าเป็น "ตัวการ" หรือ "ผู้สนับสนุน" ด้วย ใช่ว่านักประเมินจะต้องเป็น "แพะรับบาป" แต่เพียงฝ่ายเดียว
ระดับวิจารณญาณการใช้งานประเมินค่าทรัพย์สินในสังคมย้งต่ำ เราต้องยอมรับว่าผู้ใช้งานประเมินส่วนมาก แทบไม่เคยคำนึงถึงงานประเมินในฐานะงานวิจัยมูลค่าเพื่อประกอบการตัดสินใจ แต่มักใช้เพียงตัวเลขมูลค่า (ที่ตนคาดหวัง) เพื่อเป็นทางผ่านในธุรกิจที่คิดไว้ล่วงหน้าเท่านั้น
แนวทางการพัฒนามาตรฐานวิชาชีพ เกี่ยวข้องกับประเด็น 4 ประการคือ การจัดการศึกษา การควบคุมมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณ องค์กรควบคุมทางวิชาชีพและฐานข้อมูลเพื่อการประเมินค่าทรัพย์สิน

1. การจัดการศึกษา
เราเพิ่งมีการศึกษาการประเมินค่าทรัพย์สินในสถาบันการศึกษาเมื่อไม่นานมานี้ ที่สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล อุเทนถวายมีสอนเพียงระดับ ปวส. ที่ธรรมศาสตร์ มีสอนระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต สำหรับระดับปริญญาตรี-โท ทั้งธรรมศาสตร์ อัสสัมชัญที่กำลัง (จะ)เปิดนั้นไม่ได้สอนประเมินแต่สอนอสังหาริมทรัพย์ทั่วไป
ในต่างประเทศการสอนประเมินค่าทรัพย์สินในมหาวิทยาลัยไม่ได้แพร่หลายและมีเมื่อ 50 กว่าปีมานี้เอง และแม้ในปัจจุบันการสอนส่วนใหญ่ล้วนจัดในระดับประกาศนียบัตรโดยสถาบันนักวิชาชีพไม่ใช่มหาวิทยาลัย การเดินแนวทางการผลิตบัณฑิตในมหาวิทยาลัยอาจต้องทบทวน
การเรียนการสอนการประเมินค่าทรัพย์สินที่ดีที่สุดคือการศึกษาต่อเนื่องชั่วชีวิต (continuing education program - CEP) โดยกำหนดให้นักประเมินต้องผ่านการอบรมและทดสอบเพื่อเพิ่มพูนความรู้ทุกปีตามจำนวนชั่งโมงที่แน่นอน โดยการนี้นักประเมินควรถูกแบ่งเป็นระดับดังนี้:

นักประเมินฝึกหัด จบการศึกษาระดับ ปวส.-อายุงาน <2 ปี ปริญญาตรีที่เกี่ยวข้อง-อายุงาน <1 ปี ปริญญาตรีสาขาอื่น-อายุงาน <2 ปี กลุ่มนี้ไม่ต้องอบรม
นักประเมินที่อยู่อาศัย มีประสบการณ์มากกว่ากลุ่มแรกแล้ว ต้องได้รับการอบรม CEP ปีละ 18 ชั่วโมง
นักประเมินทั่วไป กลุ่มนี้ต้องมีประสบการณ์ไม่น้อยกว่า 3 ปี และให้ผ่านการอบรม CEP ปีละ 24 ชั่วโมง
นักประเมินอาวุโส กลุ่มนี้มีอายุการทำงาน 5 ปี และต้องเข้าอบรม CEP ปีละ 30 ชั่วโมง
นักประเมินฝึกหัด จบการศึกษาระดับ ปวส.-อายุงาน <2 ปี ปริญญาตรีที่เกี่ยวข้อง-อายุงาน <1 ปี ปริญญาตรีสาขาอื่น-อายุงาน <2 ปี กลุ่มนี้ไม่ต้องอบรม
นักประเมินที่อยู่อาศัย มีประสบการณ์มากกว่ากลุ่มแรกแล้ว ต้องได้รับการอบรม CEP ปีละ 18 ชั่วโมง
นักประเมินทั่วไป กลุ่มนี้ต้องมีประสบการณ์ไม่น้อยกว่า 3 ปี และให้ผ่านการอบรม CEP ปีละ 24 ชั่วโมง
นักประเมินอาวุโส กลุ่มนี้มีอายุการทำงาน 5 ปี และต้องเข้าอบรม CEP ปีละ 30 ชั่วโมง
สาระในการอบรมแบ่งเป็นวิชาต่าง ๆ ตามที่เสนอไว้ 43 วิชาๆ ละ 3 ชั่วโมง แยกเป็น
สถานการณ์ตลาดอสังหาริมทรัยพ์ 5 วิชา
วิชาชีพที่เกี่ยวข้องอื่น เช่น การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ต่าง ๆ การจัดการชุมชน นายหน้า 8 วิชา
ความรู้พื้นฐาน เช่น ภาษาไทย คอมพิวเตอร์ 6 วิชา
ความรู้ประกอบการประเมิน เช่น การวิจัย การสำรวจตลาด การเงิน ก่อสร้าง การอ่านผัง-แผน 14 วิชา
มาตรฐานการประเมินค่าทรัพย์สิน 10 วิชา
แต่ละวิชา อาจกำหนดให้เป็นวิชาเลือกและวิชาบังคับสำหรับนักประเมินแต่ละระดับ นอกจากนี้ยังมีกำหนดให้นักประเมินจัดส่งตัวอย่างรายงานให้องค์กรควบคุมวิชาชีพตรวจสอบมาตรฐานปีละ 3-5 รายการ
สำหรับค่าใช้จ่ายเพื่อการนี้ อาจคิดจากรายรับจากค่าประเมินร้อยละ 2 ของนักประเมิน นอกจากนี้สถาบันที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชนก็ล้วนยินดีให้การสนับสนุนทั้งสถานที่และการเงิน
นอากจากนี้ในกรณีจำเป็น อาจจัดให้มีการทดสอบพนักงานประเมินในปัจจุบันโดยใช้ข้อสอบของสถาบันนานาชาติที่เกี่ยวข้องเพื่อแสดงให้เห็นชัดเจนว่า นักประเมินไทยไม่ได้ต่ำกว่ามาตรฐาน


2. มาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณ

สาระสำคัญของจรรยาบรรณประกอบด้วย

การดำเนินงานเชิงวิชาชีพ (ความเป็นอิสระ ความรอบรู้ การพัฒนาความรู้ และการใช้วิจารณญาณ)
จรรยาบรรณ (การแบ่งปันความรู้ การรักษาความลับลูกค้า การไม่ทำผิดกฎ กติกา มรรยาท กฎหมายและระเบียบสังคม)
กฎการดำเนินวิชาชีพ (การพิทักษ์ประโยชน์ของสังคมเป็นอันดับหนึ่ง ของวิชาชีพเป็นอันดับสองและของลูกค้าเป็นอันดับสาม
สาระสำคัญแห่งมาตรฐานวิชาชีพได้แก่
การรู้ซึ้งและปรับใช้ความรู้การประเมินค่าทรัพย์สิน
การดำเนินการประเมินค่าทรัพย์สินตามกระบวนการที่ครบถ้วน ถูกต้อง
การแสดงวิธีการประเมินค่าทรัพย์สินที่เข้าใจได้
การจัดทำรายงานที่ชัดเจนถึงวัตถุประสงค์ ประเภทรายงานและนำความรู้ กระบวนการและวิธีการมาแสดงอย่างชัดเจน ถูกต้อง
ในการสร้างและจัดทำมาตรฐาน ควรจะจัดแบ่งนักประเมินตามระดับที่แสดงไว้ในการจัดการศึกษาตามข้อ 1 และมีการควบคุมการปฏิบัติงานอย่างเข้มงวด ใกล้ชิดและจริงจังโดยองค์กรควบคุมวิชาชีพ
สิ่งที่ควรเน้นให้เห็นความสำคัญก็คือ นักประเมินในฐานะปัจเจกบุคคล ที่ไม่ใช่เน้นที่ตัวบริษัทประเมินหรือหน่วยงานของนักประเมิน มุ่งพัฒนานักประเมินรายบุคคลและทำให้เขาเป็นอิสระในความเห็นทางวิชาชีพที่เป็นกลางในองค์กรเพื่อป้องกันการครอบงำ


3. องค์กรควบคุมทางวิชาชีพ
แนวคิดองค์กรควบคุมก็คือการมีตัวแทนของนักประเมินจากทุกส่วนเป็นตัวแทน และความเป็นอิสระมีความเห็นที่เป็นกลาง ทั้งนี้ส่วนหนึ่งอาจมีภาคราชการกำกับหรือมีกฎหมายกำกับ และแม้จะยังไม่มีก็สามารถควบคุมกันเองอย่างโปร่งใสได้ถ้าร่วมใจกัน
ต่อโครงสร้างองค์กร ควรมีคณะกรรมการบริหาร ที่ประกอบด้วยตัวแทนจากทุกฝ่ายทั้งภาครัฐบาล สถาบันการเงินและบริษัทเอกชนที่รอบรู้ด้านการประเมินค่าทรัพย์สิน นอกจากนี้ยังควรมีคณะที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิ ถัดจากคณะกรรมการบริหาร ก็ควรมีการตั้งคณะอนุกรรมการฝ่ายต่าง ๆ เช่น ฝ่ายวิชาการ-ฝึกอบรม เผยแพร่ สมาชิก มาตรฐานวิชาชีพ รับเรื่องราวร้องทุกข์ และควบคุมการปฏิบัติงาน เป็นต้น นอกจากนี้ยังควรมีการจัดตั้งกลุ่มตัวแทนตามที่มาของนักประเมิน เช่น กลุ่มนักประเมินจากบริษัทประเมิน สถาบันการเงิน กรมที่ดิน สถาบันศึกษา เป็นต้น
การควบคุมภายในของแต่ละองค์กรต้องมีการกำหนดมาตรการที่ชัดเจน ตั้งแต่การคัดเลือกพนักงาน การอบรมภายใน การสุ่มตรวจสอบงานทุกร้อยละ 5-10 โดยมุ่งหวังให้นักประเมินมีความเป็นอิสระทางวิชาชีพและความเป็นกลางทางวิชาการโดยเคร่งครัด
องค์กรควบคุมต้องได้รับมอบอำนาจจากภาคราชการและนักประเมินทั้งหลายให้สามารถรับสมาชิกที่มีคุณภาพ มีการลงโทษตามควรแก่ฐานานุรูป

4. ฐานข้อมูลเพื่อการประเมินค่าทรัพย์สิน

ข้อมูลเหล่านี้ได้แก่
ข้อมูลภาคราชการ เช่น ราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม การตรวจสอบเอกสารสิทธิ์ ผังเมืองและข้อกำหนดตามกฎหมาย การจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม เป็นต้น
รายงานประเมิน โดยอาจสรุปย่อบางส่วนร่วมกันของรายงานทั้งหลาย ในลักษณะ pool database เพื่อประโยชน์ในการประเมินและการตรวจสอบเบื้องต้น (อย่าเกรงเรื่องเสียลับจนเกินไป)
โครงการวิจัยต่อเนื่องเพื่อทราบสถานการณ์ตลาดและการเปลี่ยนแปลงมูลค่าทรัพย์สิน เช่น โครงการอสังหาริมทรัพย์ทั่วประเทศมีอยู่ราว 8,000 แห่ง ถ้าสำรวจแห่งละ 1,000 บาท ก็เป็นเงิน 8 ล้านบาทต่อครั้ง ปีละ 2 ครั้งก็เป็นเงิน 16 ล้านบาทเมื่อเทียบกับมูลค่าในตลาดอสังหาริมทรัพย์แล้วถือว่าต่ำมาก

นอกจากนี้ควรมีการกำหนดให้มีการประเมินค่าทรัพย์สินอย่างถูกต้องทุกครั้งที่มีการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ซึ่งอาจเริ่มจากทรัพย์สินที่มีมูลค่า 1 ล้านบาทขึ้นไปก่อน เพื่อให้มีจำนวนไม่มากเกินไปนัก การนี้จะทำให้มีฐานข้อมูลที่ถูกต้อง ต่อเนื่อง โดยค่าใช้จ่ายมาจากรัฐบาล ด้วยรัฐบาลจะได้ภาษีมากขึ้นนั่นเอง

สิ่งจำเป็นเร่งด่วน

1. การรวมนักประเมินจากทุกฝ่ายเข้าด้วยกัน
ทั้งภาครัฐบาล ภาคสถาบันการเงินและภาคบริษัทประเมินเพื่อร่วมพัฒนาวิชาชีพ โดย
กำหนดมาตรฐานและจรรยาบรรณวิชาชีพที่ละเอียด ชัดเจนให้เป็นที่ยอมรับและใช้กันทั้งวงการ
จัดตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อแก้ข้อขัดแย้งทางธุรกิจของบริษัทประเมิน
จัดตั้งคณะอนุกรรมการรับเรื่องราวร้องทุกข์ สำหรับกรณีการประเมินที่ไม่ถูกต้อง เป็นต้น
2. การกำหนดค่าจ้างและบริการ
ค่าจ้างในบางกรณีมีความแตกต่างกันอย่างมาก การเลือกใช้บริการก็อาจขึ้นกับความพึงพอใจเฉพาะ จนอาจเกิดกรณีการฉ้อฉลได้ ข้อควรดำเนินการได้แก่
กรณี NPL ที่สถาบันการเงินต้องเสียงบประมาณมากเพื่อการนี้ ควรมีการกำหนดค่าจ้างที่แน่ชัดและเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย เช่น 0.01% ของมูลค่าที่ประเมินได้
กรณีกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ควรกำหนดค่าจ้างประเมิน 0.05% ของมูลค่า 80% ของค่าจ้างนี้แบ่งให้บริษัทประเมิน 2 แห่งเท่ากัน อีก 20% แบ่งให้คณะกรรมการตรวจสอบซึ่งได้แก่ผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้รับแต่งตั้งเป็นครั้ง ๆ ไปในแต่ละงาน
การว่าจ้าง ควรให้เกิดความเป็นธรรม กรณีที่มีการประกาศรายชื่อบริษัทที่ได้รับการรับรองแล้ว จะมีศักดิ์และสิทธิเท่าเทียมกัน จะให้มีการเลือกที่รักมักที่ชังไม่ได้ การเลือกอาจใช้วิธีจับฉลากยกเว้นเมื่อบริษัทใดไม่ประสงค์/ไม่พร้อมจะรับงานก็สามารถผ่านไปรายอื่น ๆ ได้
ถ้าส่งงานล่าช้าอาจมีการปรับ ความผิดพลาดจากการประเมินอาจคิดเป็น 5-10 เท่าตัวของค่าจ้างที่จ่ายไป และจะไม่ได้รับงานตามระยะเวลาที่กำหนด และในกรณีฉ้อฉล ควรมีการลงโทษสถานหนัก
3. Keymen ต้องร่วมใจกัน
การพัฒนาวิชาชีพให้ได้มาตรฐานในระยะยาว อาจต้องใช้เวลานาน โดยเฉพาะการบ่มเพาะนักประเมินใหม่ๆ แต่การแก้ไขขั้นรากฐาน เราเริ่มได้แต่วันนี้ บุคคลสำคัญในสมาคมผู้ประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย สมาคมนักประเมินราคาอิสระ ในสถาบันการเงินชั้นนำทั้งหลาย ตลอดจนผู้ทรงคุณวุฒิสำคัญในวงการประเมิน ซึ่งมีอยู่ไม่มากนัก เมื่อมาร่วมใจกันแก้ไขปัญหาและวางรากฐานการพัฒนาวิชาชีพร่วมกัน ความสำเร็จย่อมบรรลุไปกว่าครึ่งแล้ว
ความสำเร็จสำคัญที่การเริ่มต้น

ความรู้พื้นฐานเรื่องการประมาณราคา

ความรู้พื้นฐานเรื่องการประมาณราคา

บทที่ 1 ความรู้พื้นฐานเรื่องการประมาณราคา

1.1 บทนำ

การประมาณราคา (Cost Estimate) ความหมายของการประมาณราคาการประมาณราคา หมายถึง การคำนวณหาปริมาณวัสดุ ค่า แรงและค่าดำเนินการที่ราคาใกล้เคียงกับค่าใช้จ่ายจริงมากที่สุด ในการแยกรายการวัสดุ ค่าแรง ค่าใช้จ่ายเครื่องมือเครื่องจักร และค่าใช้จ่ายอื่นที่เกี่ยวข้องกับงานโดยมีผลกับตัวแปรตามในด้านระยะเวลาของการทำงาน ดังนั้นการประมาณราคาจึงไม่ใช่ราคาที่แท้จริง แต่อาจใกล้เคียงกับราคาจริง ซึ่งไม่ควรจะผิดพลาดไปจากราคาที่แท้จริงเกินกว่า 10 %

การประมาณ หมายถึง การวิเคราะห์ การให้ความเห็น การพยากรณ์ หรือการคาดหมายล่วงหน้า ดังนั้นการประมาณต้นทุนจึงเป็นการวิเคราะห์ หรือการให้ความเห็นเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในกระบวนการทำงานหรือกระบวนการผลิต ซึ่งอาจเป็นการทำผลิตภัณฑ์ การจัดทำโครงการ หรือการผลิตงานบริการ

การประมาณ (คำนาม) หมายถึง การประเมินค่าแบบให้ออกมาในรูปของค่าใช้จ่าย หรือให้เป็นจำนวนหรือเป็นมูลค่า

การประมาณ (กริยา) หมายถึงประเมินค่า กำหนดค่า หรือตีราคา

การประมาณราคา เป็นงานที่เป็นทั้งศาสตร์และศิลปะ ผู้ประมาณราคาต้องมีความรู้ทางวิชาการ ความรู้ทางด้านการผลิต หรือการก่อสร้างเกี่ยวกับงานที่ทำการประมาณราคา ความรู้ทางด้านวัสดุ และมาตรฐานของวัสดุแต่ละประเภท ความรู้ทางด้านสถิติ ฯลฯ ในโครงการขนาดใหญ่ ความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติที่บริเวณก่อสร้าง และบริเวณที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติ ความรู้เกี่ยวกับเครื่องจักร และแรงงาน กฎระเบียบและธรรมเนียมปฏิบัติที่ใช้ในบริเวณสถานที่ก่อสร้าง

ดังนั้นการประมาณการที่สมเหตุสมผลที่สุด ผู้ประมาณราคาจึงต้องมีระบบเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการทำงานและราคาที่ทันสมัย และทราบถึงปัญหาและอุปสรรคที่อาจบังเกิดขึ้น เพื่อคิดเป็นค่าใช้จ่ายรวมอยู่ในงาน



1.2 ความหมายและการประมาณราคาค่าก่อสร้างโดยทั่วไป

การประมาณราคามีความหมายในตัวเองอยู่แล้วคือ ไม่ใช่ราคาที่แท้จริงหรือถูกต้องตรงกับราคาของค่าก่อสร้างจริงเป็นเพียงราคาโดยประมาณ หรือใกล้เคียงกับความเป็นจริง เพราะเมื่อก่อสร้างเสร็จแล้ว ก็จะไม่ปรากฏว่าราคาค่าก่อสร้างนั้นตรงกับราคาที่ได้ประมาณการไว้เลย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเหตุผลหลายประการคือ

· ปริมาณวัสดุตามที่ได้ประมาณการไว้โดยที่ได้เผื่อการเสียหายแล้วนั้นไม่ตรงกับที่ใช้ในการก่อสร้างจริง

· ราคาวัสดุตามที่ได้ประมาณการไว้ไม่ตรงกับที่ซื้อมาใช้ในการก่อสร้างจริง

· ค่าแรงงานก่อสร้างตามที่ได้ประมาณการไว้ไม่ตรงกับที่ว่าจ้างก่อสร้างจริง

· ค่าใช้จ่ายต่างๆ ตามที่ได้ประมาณการไว้ไม่ตรงกับที่ใช้จ่ายในการก่อสร้างจริง

· ฯลฯ



1.3 วัตถุประสงค์และประเภทของการประมาณราคา

วัตถุประสงค์ในการประมาณราคา แบ่งตามการใช้งานของบุคลากรในโครงการได้ดังนี้ คือ

· เจ้าของโครงการ หรือผู้บริหารโครงการ

วัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการตั้งงบประมาณ วางแผนการลงทุนโครงการ พิจารณาผลประโยชน์ของโครงการเพื่อดูความเหมาะสมในการลงทุน



· ผู้ออกแบบ

วัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการควบคุมงบประมาณโครงการ และจัดทำราคากลางเพื่อการประกวดราคาก่อสร้าง

· ผู้รับจ้างก่อสร้าง

วัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการประมาณราคาเพื่อการประกวดราคาก่อสร้าง

· ผู้ควบคุมงาน

วัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการพิจารณารายละเอียดงานเพิ่ม-ลด ในระหว่างการก่อสร้าง



จุดประสงค์ในการประมาณราคา

1. เพื่อทำงบประมาณก่อสร้างในขั้นต้น

2. เพื่อให้เจ้าของโครงการใช้เป็นราคากลาง

3. เพื่อให้ผู้รับเหมาเสนอประมูลราคา

4. เพื่อหาต้นทุนให้แก่ผู้รับเหมา

5. เพื่อแยกรายการ ราคาวัสดุในการซื้อสิ่งของในการก่อสร้างและค่าแรงงานก่อสร้าง



ประโยชน์ของการประมาณราคา

1. เพื่อกู้วงเงินค่าก่อสร้างของเจ้าของงานหรือผู้รับเหมา

2. เพื่อเสนอราคารับงานก่อสร้างจากผู้รับเหมา

3. เพื่อสั่งซื้อวัสดุและรู้ค่าแรงงานในการก่อสร้าง

4. เพื่อแบ่งงวดเงินค่าก่อสร้าง

5. เพื่อแก้ไขเพิ่มเติม เปลี่ยนแปลง ลดในงานก่อสร้าง

6. ช่วยตรวจสอบข้อผิดพลาดหรือ หลงลืมของสถาปนิก วิศวกร

7. ให้เป็นแนวการทำงานให้ผู้รับเหมา

8. ให้ราคาที่แน่นอนไม่เปิดโอกาสให้ผู้รับเหมาถือโอกาส

9. ลดปัญหาข้อขัดแย้งในกรณีข้อผิดพลาดที่มองไม่เห็น



ประเภทของการประมาณราคา แบ่งได้เป็นประเภท ต่าง ๆ ดังนี้ คือ

· การประมาณราคาแบบสังเขป

· การประมาณราคาแบบละเอียด



1.4 ความละเอียดถูกต้องในการประมาณราคา

ประเภทและความละเอียดถูกต้องในการประมาณราคา

· การประมาณราคาเพื่อการวางแผน (Estimates for Conceptual Planning)

· การประมาณราคาเพื่อการศึกษาความเหมาะสมของโครงการ (Estimates for Feasibility)

· การประมาณราคาระหว่างการออกแบบ (Estimates during Engineering and design)

· การประมาณราคาเพื่อการก่อสร้าง (Estimates for Construction)

· การประมาณราคาเพื่อการเปลี่ยนแปลงงาน(Estimates for Change Orders)



ภาพแสดงความละเอียดถูกต้องในการประมาณราคา











Estimate Class



Level of Project



End Usage



Expected





Definition



(Typical Purpose)



Accuracy Range

Class 5


0 % to 2 %


Concept Screening


-50 % to 100%

Class 4


1 % to 5 %


Study or Feasibility


-30 % to +50%

Class 3


10 % to 40 %


Budget, Authorization or Control


-20 % to +30%

Class 2


30 % to 70 %


Control or Bid


-15 % to +20%

Class 1


50 % to 100 %


Check Estimate or Bid/Tender


-10 % to +15%



*AACE International Cost Estimation Classifications (18R-97)



* AACE : The Association for the Advancement of Cost Engineering



1.5 ความแตกต่างของต้นทุน (Cost) และราคา (Price)

ต้นทุน หมายถึง ผลรวมของทรัพยากรที่จะต้องใช้เพื่อการผลิตและนำผลิตภัณฑ์นั้นออกจำหน่ายหรือใช้ประโยชน์

ราคา หมายถึง มูลค่าที่จะนำไปใช้ในลักษณะของการตลาด ราคาอาจจะเท่ากับต้นทุนหรือราคาอาจจะถูกปรับปรุงให้ตรงกับความต้องการของตลาด ราคาเป็นคุณค่าที่ผู้ทำผลิตภัณฑ์เป็นผู้กำหนด และปรกติราคาจะสูงกว่าต้นทุนการผลิตและการจำหน่าย โดยมีการบวกกำไรที่คาดหวังเข้าไปในราคานั้นแล้ว

ราคากลางคือ ราคามาตรฐานที่ใกล้เคียงความจริงซึ่งสามารถก่อสร้างหรือจัดหาได้จริง และใช้เป็นฐานสำหรับเปรียบเทียบราคาที่ผู้เข้าประกวดราคายื่นเสนอ



1.6 องค์ประกอบของราคา

องค์ประกอบของราคา ประกอบด้วย

· วัสดุ

- วัสดุธรรมชาติ

- แหล่งวัสดุ

- วัสดุจากการผลิต

- แรงงานในการผลิต

- เครื่องจักรในการผลิต

- แรงงานในการลำเลียง

- ค่าขนส่ง

- ความสูญเสีย

· ค่าแรง

- แรงงานคน

- เครื่องมือ

- เครื่องจักร

· ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ (Factor F)

- ค่าดำเนินการ

- กำไร

- ภาษี

- ดอกเบี้ย

- ฯลฯ

· เวลา



1.7 ข้อมูลในการประมาณราคาการก่อสร้างประกอบด้วย

1.7.1 แบบและรายการประกอบด้วย

1) แบบแปลนด้านสถาปัตยกรรม

2) แบบแปลนด้านวิศวกรรม

1.7.2 รายการประกอบแบบก่อสร้างประกอบด้วย

1) รายการประกอบแบบก่อสร้างอย่างละเอียด

2) รายการประกอบแบบก่อสร้างโดยย่อ

1.7.3 สัญญาการก่อสร้างประกอบด้วย

1) เรื่องของสัญญา สถานที่ทำสัญญา

2) วัน เดือน ปี ที่ทำสัญญา

3) ผู้ทำสัญญาระหว่างใครกับใคร ซึ่งจะต้องระบุ ชื่อ สกุล สัญชาติ เชื้อชาติ อายุ อาชีพ ตลอดจนที่อยู่อาศัยให้ละเอียดชัดเจน

4) วงเงินที่ทำสัญญากันไว้

5) ระบุผู้จัดหาและดำเนินการเกี่ยวกับวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้าง แรงงาน ตลอดจนเครื่องมือเครื่องใช้

6) ระบุอำนาจของผู้ว่าจ้างหรือตัวแทนให้ชัดเจน

7) กำหนดวันลงมือทำการก่อสร้าง และวันเสร็จของอาคารนั้น พร้อมทั้งรวมระยะเวลาการก่อสร้างว่าเป็นเวลากี่วัน

8) ระบุการจ่ายค่าเสียหายทดแทน (ค่าปรับ) หากมีการผิดสัญญาตามข้อ 7)

9) ระบุการแบ่งงวดการจ่ายเงินค่าก่อสร้างไว้อย่างชัดเจนว่า ทำการก่อสร้างได้งานแล้วเสร็จถึงอะไร ผู้ว่าจ่างจะต้องจ่ายเงินเท่าใดเป็นงวดๆ

10) บ่งถึงการเลิกสัญญาว่า จะเลิกสัญญากันได้เพราะเหตุใดบ้าง และเมื่อใด

11) มีช่องลงลายเซ็นท้ายสัญญาของผู้ว่าจ้างและผู้รับจ้าง พร้อมพยานอย่างน้อย 2 นาย และเขียนสัญญาอีก 1 นายผู้ประมาณการจะต้องศึกษาข้อตกลง หรือสัญญานี้ให้ละเอียดก่อนลงมือประมาณราคา เพราะข้อสัญญาต่างๆ ตามความต้องการของผู้ว่าจ้าง จะมีผลกระทบต่อราคาก่อสร้าง



1.8 ข้อมูลที่มีผลกับการประมาณราคา

1. ตำแหน่งสถานที่ก่อสร้าง การคมนาคมเข้าออก

2. ลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะดินในส่วนงานก่อสร้าง

3. ลักษณะสภาพภูมิอากาศ ฤดูกาล เวลา

4. ข้อกำหนดของค่าจ้างแรงงาน ข้อบังตับแรงงานท้องถิ่น การหาแรงงานในท้องถิ่น

5. วันหยุดงานในช่วงก่อสร้างตามเทศกาลต่างๆ

6. ราคาวัสดุก่อสร้างในท้องถิ่นใกล้เคียง

7. การจัดหาแหล่งเงินทุน พร้อมกับด้านเงินทุนหมุนเวียน

8. สถานการณ์ทางด้านเศรษฐกิจและการเมือง



1.9 ปัจจัยที่มีผลกับผู้ประมาณราคา

1. การหาข้อมูลขั้นแรก ( ไปดูสถานที่ก่อสร้าง ) ผู้ประมาณราคาควรไปดูสถานที่ก่อสร้างจริงเสียก่อน เพื่อพิจารณาศึกษาเกี่ยวกับสภาพของที่นั้นๆ

2. ปริมาณวัสดุจาการถอดรูปแบบรายการ โดยที่เผื่อการเสียหายแล้วไม่ตรงกับการก่อสร้างจริง

3. ราคาที่ใส่ในวัสดุที่ถอดแบบรูปรายการไม่ใช่ราคาที่ซื้อได้จริงขณะก่อสร้างจริง

4. ค่าแรงงานที่ประมาณการไว้แล้วไม่สามรถจ้างแรงงานในราคาที่ประมาณการไว้ได้ในขณะก่อสร้างจริง

5. ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่ประมาณการไว้ไม่ตรงกับค่าใช้จ่ายก่อสร้างจริง



1.10 ข้อมูลที่มีผลกับการประมาณราคา

1. ตำแหน่งสถานที่ก่อสร้าง การคมนาคมเข้าออก

2. ลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะดินในส่วนงานก่อสร้าง

3. ลักษณะสภาพภูมิอากาศ ฤดูกาล เวลา

4. ข้อกำหนดของค่าจ้างแรงงาน ข้อบังตับแรงงานท้องถิ่น การหาแรงงานในท้องถิ่น

5. วันหยุดงานในช่วงก่อสร้างตามเทศกาลต่างๆ

6. ราคาวัสดุก่อสร้างในท้องถิ่นใกล้เคียง

7. การจัดหาแหล่งเงินทุน พร้อมกับด้านเงินทุนหมุนเวียน

8. สถานการณ์ทางด้านเศรษฐกิจและการเมือง



1.11 ข้อควรพิจารณาเพื่อเป็นแนวทางในการประมาณราคา

1) เตรียมการ

· ศึกษา แบบ ข้อกำหนด และเอกสารประกวดราคา

· จัดแบ่งหมวดหมู่ของงาน

· จัดทำบัญชีแสดงปริมาณวัสดุและราคา



2) การดำเนินงาน

· ถอดแบบ

· จัดทำต้นทุนต่อหน่วย

· พิจารณาค่า Factor “F” ที่เหมาะสม สรุปเป็นราคาโครงการ

· ตรวจทาน



3) การเก็บข้อมูล

· รวบรวมราคางานที่ได้จัดทำไว้ แยกเป็นหมวดหมู่

· มีระบบการจัดเก็บที่ดี

· ติดตามผลการประกวดราคา เปรียบเทียบราคากับราคากลาง



4) การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง






















1.12 แบบฟอร์มที่ใช้ในการประมาณราคา

1) แบบฟอร์ของทางราชการ

แบบฟอร์ม ปร. 1 ใช้ประมาณการถอดแบบหาปริมาณงานและวัสดุทั่วไป

แบบฟอร์ม ปร. 2 ใช้ประมาณการถอดแบบงานคอนกรีต ไม้แบบ ไม้ค้ำยันและเหล็กเสริม

แบบฟอร์ม ปร. 3 ใช้ประมาณการถอดแบบงานไม้

แบบฟอร์ม ปร. 4 ใช้สำหรับรวมปริมาณงานแต่ละประเภท

แบบฟอร์ม ปร. 5 ใช้สรุปราคาค่าก่อสร้าง

แบบฟอร์ม ปร. 6 ใช้สรุปราคาค่าก่อสร้าง กรณีมีการก่อสร้างหลายงานหรือใช้เปรียบเทียบราคา





2) แบบฟอร์มตามระบบคุณภาพของบริษัท

แบบฟอร์ม FM-WI-QTY-01 เป็นแบบฟอร์มทั่วไปในการถอดแบบ

แบบฟอร์ม FM-WI-QTY-02 เป็นแบบฟอร์มใช้ในการถอดแบบเหล็กเสริม

แบบฟอร์ม FM-WI- QTY-03 เป็นแบบฟอร์มทั่วไปในการถอดแบบหรือบันทึกข้อความ

แบบฟอร์ม FM-WI- QTY-04 เป็นแบบฟอร์มทั่วไปในการถอดแบบที่มีการวาดภาพหรือติดภาพประกอบ



3) Back up Sheets

Back up Sheets คือ กระดาษคำนวณแสดงที่มา ของปริมาณวัสดุ หรือต้นทุนต่อหน่วยของงานแต่ละประเภท

Back up Sheets ที่ดี ควรมีความละเอียด ชัดเจน และแสดงแหล่งที่มาของข้อมูล



1.13 คุณสมบัติของผู้ประมาณราคา

ผู้ประมาณราคา ต้องมีความรู้ความสามารถในหลายด้านซึ่งต้องใช้ความรู้ความชำนาญและประสบการณ์ รวมทั้งมีเทคนิคเฉพาะตัวอย่างสูง ซึ่งจะได้มาซึ่งราคาที่ใกล้เคียงในการก่อสร้างจริงมากที่สุด ดังนั้นคุณสมบัติของผู้ประมาณราคาควรมีดังนี้

1. ต้องมีความรู้ทางด้านรูปแบบรายการที่จะแยกวัสดุ

2. มีความรู้เรื่องวัสดุก่อสร้างเป็นอย่างดี

3. ต้องมีความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์

4. มีความรู้ความชำนาญในงานที่ประมาณราคาเป็นอย่างดี

5. มีความรู้ในเรื่องแบบรูปแบบรายการที่ประมาณราคาที่สามารถแยกรายละเอียดของานใหญ่ออกเป็นงานย่อยๆ ได้ละเอียดมากขึ้น

6. มีความรู้เรื่องวัสดุก่อสร้างที่ใช้ประมาณราคาเป็นอย่างดี

7. มีความละเอียดรอบคอบในการเก็บรวบรวมข้อมูลอย่างมีระบบ และมีปฏฺภาณไหวพริบในการประยุกต์โดยการนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมข้อมูลมาใช้ประมาณราคาได้รวดเร็วและถูกต้อง

8. มีหลักการในการวินิจฉัย ช่างสังเกตที่ดีเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมในสถานที่ก่อสร้าง

9. มีความรู้และความเข้าใจที่สามารถศึกษาเอกสาร สัญญา รายการประกอบแบบก่อสร้าง ที่จะมีผลกับรายการก่อสร้างในด้านงานที่จะต้องเสร็จตามกำหนดเวลา ถ้างานไม่สร็จตามกำหนดเวลาจะต้องมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ เพิ่มขึ้น เช่น ค่าปรับ เป็นต้น

การบริหารโครงการอย่างมืออาชีพ - Professional Project Management

การบริหารโครงการอย่างมืออาชีพ
Professional Project Management

แนวทางในการวิเคราะห์ต้นทุนงานก่อสร้างในมุมมองของผู้บริหาร

1. ขอบเขตและบทนำ

เทคนิคการวิเคราะห์ต้นทุนเพื่อให้ทราบงบประมาณที่แท้จริงของงานก่อสร้าง อันประกอบด้วย วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องจักร และแรงงานในงานก่อสร้าง สำหรับเตรียมพร้อมก่อนการเริ่มงานจริง และสามารถบริหารโครงการอย่างคุ้มค่าสูงสุด ในมุมมองของผู้บริหารโครงการที่ใช้ในการวางแผน โดยมองถึงปัญหาและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตหากไม่มีการวิเคราะห์ต้นทุนในงานก่อสร้างก่อนเริ่มงานจริง

บทนำ

หนึ่งในหัวข้อที่สำคัญซึ่งต้องคำนึงถึงในการบริหารโครงการก็คือ การบริหารการเงินโครงการ กระบวนการบริหารการเงินโครงการ จะประกอบด้วย การประมาณราคา (Estimating) การจัดทำงบประมาณ (Budgeting) การติดตาม (Monitoring) การควบคุม (Control) ซึ่งการจะทราบถึงงบประมาณโครงการ เพื่อการบริหารการเงินโครงการนั้น จำเป็นต้องทราบถึง ต้นทุนองค์ประกอบ ต่าง ๆ ของโครงการ นับตั้งแต่ขั้นการศึกษาความเป็นไปได้และความเหมาะสมของโครงการ (Feasibility Study) การออกแบบเบื้องต้น (Preliminary Design) การประมาณราคาโครงการเบื้องต้น (Preliminary Cost Estimate) การระดมทุน (Corporate Finance, Equity Financing) การศึกษาเพื่อกำหนดรายละเอียด (Definite Study) การออกแบบรายละเอียด (Detailed Design) การประมาณราคาโครงการ (Project Cost Estimate) และสุดท้ายก็คือการก่อสร้าง (Construction) ขั้นตอนต่าง ๆ ของโครงการนั้นล้วนมีต้นทุนค่าใช้จ่าย แต่ในที่นี้จะขอนำเสนอ แนวทางในการวิเคราะห์ต้นทุนในงานก่อสร้าง พอเป็นสังเขปเพื่อให้เหมาะสมและพอดีกับเวลาอันจำกัดนี้

2. ภาพรวมของงานศึกษาออกแบบและก่อสร้าง
ภาพที่ 1 ผังความสัมพันธ์ของงานศึกษาออกแแบบและก่อสร้างโครงการทางด้านวิศวกรรม



3. รูปแบบของการบริหารจัดการงานก่อสร้างแบบต่าง ๆ

3.1 แบบทั่วไป
3.2 แบบออกแบบรวมก่อสร้าง
3.3 แบบการบริหารงานก่อสร้าง
3.4 แบบเจ้าของงานก่อสร้างเอง
























ภาพที่ 2 รูปแบบของการบริหารจัดการงานก่อสร้าง
4. การบริหารการเงินโครงการ
กระบวนการบริหารการเงินโครงการ
 การประมาณราคา (Estimating)
 การจัดทำงบประมาณ (Budgeting)
 การติดตาม (Monitoring)
 การควบคุม (Control)

5. ต้นทุนและราคา

ความแตกต่างของต้นทุน (Cost) และราคา (Price)
ต้นทุน หมายถึง ผลรวมของทรัพยากรที่จะต้องใช้เพื่อการผลิตและนำผลิตภัณฑ์นั้นออกจำหน่ายหรือใช้ประโยชน์

ราคา หมายถึง มูลค่าที่จะนำไปใช้ในลักษณะของการตลาด ราคาอาจจะเท่ากับต้นทุนหรือราคาอาจจะถูกปรับปรุงให้ตรงกับความต้องการของตลาด ราคาเป็นคุณค่าที่ผู้ทำผลิตภัณฑ์เป็นผู้กำหนด และปรกติราคาจะสูงกว่าต้นทุนการผลิตและการจำหน่าย โดยมีการบวกกำไรที่คาดหวังเข้าไปในราคานั้นแล้ว (มณเฑียร 2538)

6. การประมาณต้นทุน

การประมาณหมายถึง การวิเคราะห์ การให้ความเห็น การพยากรณ์ หรือการคาดหมายล่วงหน้า ดังนั้นการประมาณต้นทุนจึงเป็นการวิเคราะห์ หรือการให้ความเห็นเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในกระบวนการทำงานหรือกระบวนการผลิต ซึ่งอาจเป็นการทำผลิตภัณฑ์ การจัดทำโครงการ หรือการผลิตงานบริการ

การประมาณ (คำนาม) หมายถึง การประเมินค่าแบบให้ออกมาในรูปของค่าใช้จ่าย หรือให้เป็นจำนวนหรือเป็นมูลค่า

การประมาณ (กริยา) หมายถึงประเมินค่า กำหนดค่า หรือตีราคา

การประมาณ เป็นศิลปะของการประมาณการเกี่ยวกับคุณค่าหรือค่าใช้จ่ายที่อาจเป็นไปได้ โดยอาศัยข้อมูลที่สามารถจะหาได้ในขณะนั้น ขอบเขตงานประมาณยังรวมถึงการสะสมข้อมูล การจัดทำรายงานเกี่ยวกับค่าใช้จ่าย และยังครอบคลุมถึงการกำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับชั่วโมงแรงงานและค่าวัตถุ

Cost Analysis is the process of reviewing and evaluating the separate cost element included in an offeror’s proposal, including the judgmental factors applied by the offeror in projecting from historical cost data to the estimated costs included in the proposal. Cost analysis is done to help the buyer form an educated opinion on the degree to which the proposed costs represent what the contract should cost, assuming reasonable economy and efficiency. It includes verifying cost data and evaluating cost elements, including:

 The necessity for and reasonableness of proposed costs.
 The offeror’s projection of cost trends on the basis of current and historical cost or pricing data.
 A technical appraisal of the estimated labor, material, tooling, and facilities requirements and of the reasonableness of scrap and spoilage factors.

Among the evaluations that should be made, where the necessary data are available, are comparisons of an offeror’s current estimated costs with:
 Actual costs previously incurred by the same supplier or offeror.
 Previous cost estimates from the offeror or from other offerors for the same or similar items.
 Other cost estimates received in response to the solicitation.
 Independent cost estimates by technical personnel.
 Forecasts of planned expenditures.

Price Analysis is the process of examining and evaluating a proposed price without evaluating its separate elements of cost and profit. It may be accomplished by the following comparisons, which are listed in their relative order of preference:

 Comparison with other prices and quotations submitted.
 Comparison with published catalog or market prices.
 Comparison with prices set by law or regulations.
 Comparison with prices for the same or similar items.
 Comparison with prior quotations for the same or similar items.
 Comparison with market data (indexes).
 Application of rough yardsticks (such as dollars per pound or per horse-power or other units) to highlight significant inconsistencies that warrant additional pricing inquiry.
 Comparison with independent estimates of cost developed by knowledgeable personnel within the buying organization.
 Use of value analysis.
 Use of visual analysis.

7. ความสำคัญของการประมาณต้นทุน
 เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นในการเสนอข้อมูลเพื่อการประกวดราคา
 เพื่อเป็นข้อมูลที่จะช่วยให้เจ้าของกิจการ สามารถตัดสินใจกำหนดนโยบายการดำเนินงานในอนาคตเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจต่อไป

8. วัตถุประสงค์ของการประมาณ
 เพื่อวางแผนและบริหารการเงินโครงการ
 เพื่อการควบคุมต้นทุนการทำงาน
 เพื่อการประเมินประสิทธิภาพการทำงาน
 เพื่อกำหนดวิธีการทำงานที่ประหยัด
 เพื่อการตรวจสอบถึงต้นทุนที่ผู้รับจ้างช่วงหรือผู้แทนจำหน่าย กำหนดมา
 เพื่อการตัดสินใจว่าจะผลิตเองหรือซื้อ
 เพื่อเป็นพื้นฐานของการกำหนดแผนการดำเนินงาน และกำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จของโครงการ

9. ความสำคัญของต้นทุน
ต้นทุนทำให้ทราบถึงค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น และทำให้สามารถมองในภาพรวมได้ว่า ณ จุดใด อาจเกิดการขาดทุน ณ จุดใดสามารถสร้างกำไรได้

10. ปัญหาของการประมาณต้นทุน
 ขาดข้อมูลที่เพียงพอ
- ข้อมูลวัสดุ
- ข้อมูลแรงงาน
 ขาดความละเอียดรอบคอบ
 ขาดการติดตามผล
 กำหนดราคาไม่เหมาะสม
 ขาดการคัดเลือกและฝึกอบรมผู้ประมาณที่เหมาะสม
 จากการบริหาร

11. ข้อมูลและองค์ประกอบของต้นทุน
11.1 ข้อมูล
 เงื่อนไขการประกวดราคา (Conditions of Contract)
 แบบ (Drawings)
 ข้อกำหนด (Specifications)
 ใบเสนอราคา และบัญชีแสดงปริมาณวัสดุและราคา (Bid Form and Bill of Quantities)
11.2 องค์ประกอบของต้นทุนและราคา
 วัสดุ
- วัสดุธรรมชาติ
- แหล่งวัสดุ
- วัสดุจากการผลิต
- แรงงานในการผลิต
- เครื่องจักรในการผลิต
- แรงงานในการลำเลียง
- ค่าขนส่ง
- ความสูญเสีย
 ค่าแรง
- แรงงานคน
- เครื่องมือ
- เครื่องจักร
 ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ (Factor F)
- ค่าดำเนินการ
- กำไร
- ภาษี
- ดอกเบี้ย
- ความผันผวน
- ฯลฯ
 เวลา


12. ประเภทและความละเอียดถูกต้องในการประมาณราคา
 Estimates for Conceptual Planning
 Estimates for Feasibility
 Estimates during Engineering and design
 Estimates for Construction
 Estimates for Change Orders













ภาพที่ 3 ความละเอียดถูกต้องในการประมาณราคา

Estimate Class Level of Project End Usage Expected
Definition (Typical Purpose) Accuracy Range
Class 5 0 % to 2 % Concept Screening -50 % to 100%
Class 4 1 % to 5 % Study or Feasibility -30 % to +50%
Class 3 10 % to 40 % Budget, Authorization or Control -20 % to +30%
Class 2 30 % to 70 % Control or Bid -15 % to +20%
Class 1 50 % to 100 % Check Estimate or Bid/Tender -10 % to +15%

AACE International Cost Estimation Classifications (18R-97)

13. โครงสร้างการจัดการข้อมูล (Work Breakdown Structure)

WORK BREAKDOWN STRUCTURE (WBS)

1) A management technique for subdividing a total job into its Component elements, which then can be displayed in a manner to show the relationship of these Elements to each other and to the whole.

2) A product-oriented family tree, composed of hardware, software, services, and other work tasks, which results from project Engineering effort during the Development and production of a Defense Materiel Item, and which completely defines the project or program. A WBS displays and defines the product(s) to be developed or produced, and relates the elements of work to be accomplished to each other and to the end product.


WORK BREAKDOWN STRUCTURE (WBS) ELEMENTS

The individual elements of the Work Breakdown Structure, representing the required hardware, software, services, and/or Data.

14.หลักเบื้องต้นและสิ่งที่จำเป็นในการวิเคราะห์ต้นทุน
 การตรวจสอบเอกสารสัญญา
 การวางแผนงาน
 การคำนวณปริมาณวัสดุ (การถอดแบบ)
 ประเภทของต้นทุน
- ต้นทุนทางตรง (Direct Cost)
- ต้นทุนทางอ้อม (Indirect Cost)
 ผลผลิต (Production)
 แหล่งที่มาของข้อมูล
- อัตราค่าแรงงาน
- ราคาเครื่องจักร หรืออัตราราคาค่าเช่า
- ราคาวัสดุ
 เอกสารสนับสนุนต่าง ๆ
 การจ้างช่วง
 ค่าดำเนินการอื่น ๆ

15. ข้อควรพิจารณาเพื่อเป็นแนวทางในการประมาณราคา
แนวทางในการประมาณราคาค่าก่อสร้างโครงการ นั้น มีข้อควรพิจารณาดังต่อไปนี้
1. เมื่อเริ่มงานออกแบบโครงการ ควรจะต้องมีการประชุมปรึกษาหารือระหว่าง วิศวกรสาขาต่างๆ สถาปนิก ผู้ประมาณราคาและคำนวณปริมาณงาน ผู้จัดทำ Spec. นักวิชาการสิ่งแวดล้อม และผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ เพื่อร่วมกันจัดทำ เกณฑ์การออกแบบ (Design Criteria) เพื่อให้โครงการ :
- มีประโยชน์ใช้งานสูงสุดและมีระยะเวลาก่อสร้างตรงตามความต้องการของผู้ว่าจ้าง
- สะดวกต่อการดูแลและบำรุงรักษา
- เหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศ ทั้งในระยะเวลาก่อสร้าง และระยะเวลาใช้งาน
- ใช้วัสดุในท้องถิ่นให้มากที่สุด เพื่อลดราคาค่าก่อสร้าง
- มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด และสอดคล้องกับมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Mitigation Plan) ของโครงการ
เกณฑ์การออกแบบ ดังกล่าวจะประกอบด้วย
1.1 ตำแหน่ง ชนิด และขนาด ขององค์ประกอบหลักและอุปกรณ์หลักของโครงการ
1.2 Design Parameters
1.3 ชนิดและคุณสมบัติของวัสดุต่างๆ รวมทั้งแหล่งวัสดุ ตำแหน่งของที่ทิ้งดิน และถนนชั่วคราว (Haul Road & Access Road)
1.4 ชนิด และคุณสมบัติของอุปกรณ์ประกอบต่างๆ
1.5 วิธีการ สมมุติฐาน และเงื่อนไขในการออกแบบองค์ประกอบต่างๆ
1.6 วิธีการ ขั้นตอน และเงื่อนไขในการก่อสร้าง องค์ประกอบต่างๆ รวมทั้งงานชั่วคราว (Temporary Works) ที่จำเป็น
1.7 วิธีการ ขั้นตอน และเงื่อนไขในการประกอบและติดตั้งอุปกรณ์ รวมทั้งพื้นที่ที่ต้องการระหว่างการประกอบ ติดตั้ง และบำรุงรักษาอุปกรณ์

เกณฑ์การออกแบบ นี้ควรจะได้รับความเห็นชอบจากผู้ว่าจ้าง และจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในระหว่างการออกแบบ จัดเตรียมเอกสารประกวดราคา และประมาณราคาโครงการ จะทำให้งานในส่วนต่างๆ สามารถดำเนินการขนานกันไปได้ ผู้จัดทำ Spec. จะทราบว่างานก่อสร้างโครงการนี้ต้องการ Spec. ของงานใดส่วนใด และสามารถปรับปรุงแก้ไขให้สอดคล้องกับวัสดุที่จะใช้งาน ส่วนผู้ประมาณราคาสามารถดำเนินการสืบราคาวัสดุและอุปกรณ์ที่จะใช้งานได้ทันที สามารถทราบระยะทางลำเลียงวัสดุ (Haul Distance) และเริ่มดำเนินการประมาณราคาต่อหน่วย (Unit Cost)

นอกจากนี้ เกณฑ์การออกแบบ จะเป็นประโยชน์ในการเปลี่ยนแปลงแก้ไขแบบในระหว่างก่อสร้างและการปรับปรุงต่อเติมในระหว่างการใช้งาน

2. จากประสบการณ์ที่ผ่านมา ความผิดพลาดของการประมาณราคาค่าก่อสร้างโครงการเกิดจากสาเหตุ ดังต่อไปนี้
2.1 คำนวณราคาค่าขนส่งและค่าลำเลียงวัสดุและอุปกรณ์ผิดพลาด ซึ่งเกิดจาก
- เมื่อสืบราคาวัสดุและอุปกรณ์ ผู้ประมาณราคาไม่ทราบว่าเป็นราคา ณ จุดใด เช่น ราคาหน้าโรงงาน ราคาหน้าโรงโม่ หรือเป็นราคาที่บริเวณก่อสร้าง
- วัสดุและอุปกรณ์บางอย่างไม่สามารถนำไปลงที่หน้างานได้โดยตรง จะต้องนำไปกองรวม (Stock Pile) หรือผ่านขบวนการผลิต หรือเข้าคลังพัสดุก่อน แล้วจึงลำเลียงไปหน้างานในภายหลัง
- ผู้ประมาณราคาไม่เข้าใจขั้นตอนการก่อสร้าง เช่น วัสดุงานขุดสามารถนำไปใช้ในงานถมได้ แต่ยังไม่สามารถถมได้ในทันที ต้องนำไปกองรวมไว้ก่อน จึงเกิด Double Hauling
2.2 ประมาณราคางานชั่วคราว (Temporary Works) ผิดพลาด หรือบางครั้งไม่ได้คิดรวมไว้ในราคาค่าก่อสร้างเลย ที่พบบ่อยที่สุดคือการประมาณราคางานชั่วคราวไว้เป็นงานเหมารวม (Lump Sum Price) โดยไม่มีที่มา วิธีการแก้ไขคือผู้ออกแบบองค์ประกอบใดที่ต้องมีงานชั่วคราว จะต้องออกแบบงานชั่วคราวไว้ด้วย ถึงแม้จะไม่เขียนเป็นแบบรายละเอียดเช่นเดียวกับแบบในเอกสารประกวดราคา แต่อย่างน้อยจะต้องเป็นแบบร่างลายเส้น (Sketch) แสดงตำแหน่ง ชนิด ขนาด ของวัสดุและอุปกรณ์ พร้อมทั้งบอกความต้องการต่างๆ ด้วย เพื่อให้ผู้ประมาณราคาสามารถคำนวณปริมาณงานและราคาได้ ที่สำคัญอย่างยิ่ง จะต้องรวมค่าบำรุงรักษา ค่ารื้อถอน และขนย้ายออกไปด้วย
2.3 คิดราคาต้นทุนทางอ้อม (Indirect Cost) ไม่ถูกต้อง ส่วนใหญ่จะคิดเป็น Overhead โดยคิดเป็นอัตราส่วนร้อยละของราคาต่อหน่วยของงานต่างๆ ซึ่งอาจจะสูงหรือต่ำกว่าความเป็นจริงมาก อย่างไรก็ตามหากจะคิดเป็นอัตราส่วนร้อยละของราคาต่อหน่วยแล้ว จะต้องแปรอัตราส่วนร้อยละไปตามขนาดของงาน ระยะเวลาการก่อสร้าง และปริมาณงานชั่วคราวที่ไม่มีการจ่ายเงินโดยตรงด้วย
ต้นทุนทางอ้อมเหล่านี้จะประกอบด้วย
- ค่าก่อสร้าง ค่าบำรุงรักษา และค่ารื้อถอนงานชั่วคราวที่ไม่มีการจ่ายเงินโดยตรง เช่น ที่ทำการ ที่พัก คลังพัสดุโรงงานชั่วคราวในระหว่างก่อสร้าง งานผันน้ำในระหว่างก่อสร้าง เป็นต้น
- ค่าใช้จ่ายในการบริหารโครงการและค่าโสหุ้ยอื่นๆ ของสำนักงานใหญ่
- ค่ารับรอง
- เงินเดือน สวัสดิการ และค่าโสหุ้ยของผู้จัดการโครงการ และบุคลากรสนับสนุนอื่นๆ เช่น วิศวกรสาขาต่างๆ หัวหน้างาน ช่างเขียนแบบ ช่างสำรวจ พนักงานห้องทดลอง พนักงานธุรการ คนขับรถส่วนกลาง พนักงานรักษาความปลอดภัย ฯลฯ
- ค่าธรรมเนียมต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียมธนาคาร เบี้ยประกัน ฯลฯ
- ค่าดอกเบี้ยธนาคารสำหรับเงินทุนหมุนเวียน
- ค่าใช้จ่ายในสำนักงาน เช่น ค่าเตรียมแบบก่อสร้าง ค่ากระแสไฟฟ้า ฯลฯ
- ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่ไม่สามารถนำไปคำนวณเป็นต้นทุนทางตรง (Direct Cost) ในราคาต่อหน่วยได้
วิธีการที่บริษัทผู้รับเหมารายใหญ่นิยมใช้ในการคำนวณราคาค่าก่อสร้าง เพื่อประมูลงาน คือ การทำแผนก่อสร้าง (Construction Planning) ซึ่งจะทำให้ทราบจำนวนบุคลากรประเภทต่างๆ จำนวนเครื่องจักรเครื่องมือ และจำนวนวัสดุอุปกรณ์ที่ต้องการใช้ในแต่ละเดือน ทำให้การคำนวณต้นทุน ทั้งต้นทุนทางตรง (Direct Cost) และต้นทุนทางอ้อม (Indirect Cost) ได้ถูกต้องแม่นยำขึ้น เพราะได้รวมช่วงเวลารองาน (Idle Period) ของแรงงานและเครื่องจักรเครื่องมือ และประมาณการค่าใช้จ่ายต่างๆ ไว้ครบถ้วน
3. การนำราคาประมูลของโครงการที่ผ่านมาแล้วมาใช้งาน จะต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง เพราะราคาประมูลนั้นๆ อานจะเกิดจากการทำ Unbalanced Bid กล่าวคือ เมื่อผู้เข้าประมูลต้องการเงินมาเป็นทุนหมุนเวียนเพิ่มขึ้น ก็จะเพิ่มราคางานที่เบิกจ่ายได้ในปีแรกของงานก่อสร้างให้สูงขึ้น แล้วไปลดราคางานที่เบิกจ่ายในปีสุดท้ายของงานก่อสร้างให้ต่ำลง
4. การคำนวณปริมาณงานโดยเฉพาะงานที่มีสัดส่วนของราคางานสูงจะต้องทำด้วยความรอบคอบระมัดระวัง เพราะอาจเกิดผลเสียต่อผู้ว่าจ้างได้ ตามปกติเมื่อผู้เข้าประมูลซื้อเอกสารประกวดราคาไปแล้ว จะทำการตรวจสอบปริมาณงานใน BOQ อีกครั้งหนึ่ง หากพบว่างานใดมีปริมาณงานใน BOQ ต่ำกว่าความเป็นจริงมากและแน่ใจว่าผู้รับจ้างจะต้องสั่งเพิ่มงานนี้ในขณะก่อสร้างแน่นอน ผู้เข้าประมูลก็จะเพิ่มราคาต่อหน่วยในงานนี้ให้สูงขึ้น แล้วไปลดราคาในงานอื่นหรืองานที่มีปริมาณงานสูงกว่าความเป็นจริงให้ต่ำลง เมื่อผู้เข้าประมูลรายนี้ได้เป็นผู้รับจ้าง ก็จะได้กำไรจากราคาส่วนเกินนี้ไป
5. การประมาณราคาเบื้องต้นของโครงการสามารถกระทำได้ โดยใช้ราคาค่าก่อสร้างของโครงการที่ผ่านมาที่มีลักษณะคล้ายกัน และขนาดใกล้เคียงกัน แล้วแบ่งราคาออกเป็นราคาของหมวดงานหลัก ซึ่งรวมราคางานย่อยอื่นๆ และงานชั่วคราว เช่น งานขุด งานถม งานคอนกรีต งานถนน งานที่ทำการและบ้านพักถาวร งานอุปกรณ์หลัก ราคางานอื่นซึ่งไม่สามารถรวมเข้าไปในหมวดงานหลักหมวดใดหมวดหนึ่งได้ ให้แบ่งตามน้ำหนักแล้วรวมเข้าไปในราคาหมวดงานหลัก จากนั้นปรับราคาตามดัชนีราคา (Price Index) ของวัสดุก่อสร้าง แรงงาน และเครื่องจักร แล้วคำนวณราคาต่อหน่วยไว้ใช้งานประมาณราคาเบื้องต้น
6. ข้อมูลในระหว่างการก่อสร้างโครงการ ทั้งโครงการที่เสร็จไปแล้ว และโครงการที่บริษัทฯ กำลังควบคุมงานอยู่ในขณะนี้ จะเป็นประโยชน์ต่องานประมาณราคา เช่น รานงานความก้าวหน้าประจำเดือน แบบก่อสร้างของงานชั่วคราว แบบก่อสร้างของงานผลิตและประกอบแบบหล่อคอนกรีต เป็นต้น รายงานความก้าวหน้าจะทำให้ทราบจำนวนบุคลากร เครื่องจักร เครื่องมือแต่ละเดือนของโครงการที่มีลักษณะและขนาดนั้นๆ ซึ่งจะเป็นข้อมูลให้ผู้ประมาณราคาทำ Construction Planning ได้ แบบก่อสร้างของงานผลิตและประกอบแบบหล่อคอนกรีต จะทำให้ทราบว่างานคอนกรีตแต่ละประเภทใช้ไม้แบบจำนวนเท่าใด มีอุปกรณ์ประกอบอะไรบ้าง จึงเห็นสมควรให้รวบรวมเอกสารเหล่านี้ เพื่อประโยชน์ของงานประมาณราคาค่าก่อสร้างโครงการต่อไป

16. การประมาณราคากับ ISO 9001
หนึ่งในข้อกำหนดมาตรฐานคุณภาพ ISO คือเรื่อง การตรวจวัด การวิเคราะห์และปรับปรุง (Measurement, Analysis and Improvement)
ในเรื่องการปรับปรุง องค์กรจะต้องปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (Continual Improvement) ทางด้านประสิทธิผลของระบบบริหารคุณภาพ จากการใช้นโยบายคุณภาพ วัตถุประสงค์ด้านคุณภาพ ผลของการตรวจประเมินระบบคุณภาพ การวิเคราะห์ข้อมูล การปฏิบัติแก้ไขและป้องกัน และการทบทวนของฝ่ายบริหาร

.















ภาพที่ 4 กระบวนการประมาณราคา

17. สมาคมวิชาชีพ และจรรยาบรรณ
17.1 สมาคมวิชาชีพ
 สมาคมนักประเมินราคาอิสระไทย
http://www.tva.or.th
 มูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินไทย
http://www.thaiappraisal.org/Thai/Default.asp
 สมาคมวิศวกรรมต้นทุน

17.2 จรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ (Code of Ethics)
ความหมาย “ประมวลความประพฤติที่ผู้ประกอบอาชีพการงานแต่ละอย่างกำหนดขึ้นเพื่อรักษา และส่งเสริมเกียรติคุณ ชื่อเสียง และฐานะของสมาชิก อาจเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ได้” (ราชบัณฑิตยสถาน 2519)
“เป็นการที่คณะบุคคล ร่วมกลุ่ม ร่วมวิชาชีพ ร่วมกันก่อตั้งสมาคม หรือองค์กรขึ้นมาเพื่อประกอบวิชาชีพนั้นแล้ว ช่วยกันทำนุบำรุงรักษาความดีงามในวิชาชีพนั้นให้ยืนยาวต่อไป การใช้กฎเกณฑ์ข้อบังคับของหมู่ในเชิงที่เห็นว่าดีงามมาบีบบังคับมวลสมาชิกนั้นไม่มีอำนาจของกฎหมายบ้านเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่เป็นการควบคุมตนเองในบรรดามวลหมู่สมาชิกในองค์กรนั้นเอง เป็นการใช้ความมีวินัยในตนเองมาเป็นเครื่องควบคุมระเบียบวิยัยของคนหมู่มากนั่นเอง” (ดร. อมร รักษาสัตย์)

มาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณ โดย ดร. โสภณ พรโชคชัย
กรรมการผู้จัดการ Agency for Real Estate Affairs
http://www.thaiappraisal.org/Thai/Valuation/Valuation10.htm

สาระสำคัญของจรรยาบรรณประกอบด้วย
• การดำเนินงานเชิงวิชาชีพ (ความเป็นอิสระ ความรอบรู้ การพัฒนาความรู้ และการใช้วิจารณญาณ)
• จรรยาบรรณ (การแบ่งปันความรู้ การรักษาความลับลูกค้า การไม่ทำผิดกฎ กติกา มรรยาท กฎหมายและระเบียบสังคม)
• กฎการดำเนินวิชาชีพ (การพิทักษ์ประโยชน์ของสังคมเป็นอันดับหนึ่ง ของวิชาชีพเป็นอันดับสองและของลูกค้าเป็นอันดับสาม




สาระสำคัญแห่งมาตรฐานวิชาชีพได้แก่
• การรู้ซึ้งและปรับใช้ความรู้การประเมินค่าทรัพย์สิน
• การดำเนินการประเมินค่าทรัพย์สินตามกระบวนการที่ครบถ้วน ถูกต้อง
• การแสดงวิธีการประเมินค่าทรัพย์สินที่เข้าใจได้
• การจัดทำรายงานที่ชัดเจนถึงวัตถุประสงค์ ประเภทรายงานและนำความรู้ กระบวนการและวิธีการมาแสดงอย่างชัดเจน ถูกต้อง






18. เว็บไซต์แนะนำ

1. ความรู้ทั่วไป
1.1 ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๕
http://www.gprocurement.go.th/04_law/procedure.zip
1.2 The International Cost Engineering Council
http://www.icoste.org/ceqspm.htm
1.3 The Society of Cost Estimating and Analysis (SCEA) http://scea.timberlakepublishing.com/content.asp?contentid=235
1.4 The Association for the Advancement of Cost Engineering
http://www.aacei.org/resources/meetingslides.shtml
1.5 International Construction Information Society.
A Description and Comparison of National Specification Systems. http://www.icis.org/Technical/ICIS_Report_1-2002.pdf
1.6 Construction Specifications Institute (CSI).
MasterFormat™ 2004 Edition: Numbers & Titles (PDF). http://www.csinet.org/s_csi/pdf.asp?TP=/s_csi/docs/9400/9361.pdf

2. ข้อมูลราคา
2.1 ราคาวัสดุก่อสร้าง โดย สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ http://www.price.moc.go.th/struct/index.asp
2.2 มาตรฐานงบประมาณ
บัญชีราคามาตรฐานครุภัณฑ์ ปี 2546 ปี 2547
บัญชีราคามาตรฐานสิ่งก่อสร้าง ปีงบประมาณ พ.ศ. 2547 ปี 2548
ราคาวัสดุก่อสร้างมวลรวมต่อหน่วยตามมาตรฐานงานช่างปี 2546
บัญชีค่าแรงงานที่ใช้ประกอบการถอดแบบคำนวณราคากลางงานก่อสร้างอาคาร ปี 2546
โดย สำนักงบประมาณ
http://www.bb.go.th/07/download.html
2.3 Factor F
สำนักพัฒนามาตรฐานระบบพัสดุภาครัฐ กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง
http://www.gprocurement.go.th/
หลักเกณฑ์การใช้ตาราง Factor F
http://www.gprocurement.go.th/02_price/index.php
2.4 ราคาประเมินค่าก่อสร้างอาคาร
สมาคมผู้ประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย
http://www.thaiappraisal.org/Thai/Value/Value1.htm



3. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์
3.1 Project Management for Construction Fundamental Concepts for Owners, Engineers, Architects and Builders
http://www.ce.cmu.edu/pmbook/


19. หนังสือแนะนำ

1. แนวทางการจัดการข้อมูลงานก่อสร้างสำหรับการประเมินและควบคุมราคางานก่อสร้าง
โดย คณะอนุกรรมการ สาขาบริหารงานก่อสร้าง วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
2. แนวทางการวัดปริมาณงานก่อสร้างในส่วนของงานโครงสร้างและงานสถาปัตยกรรม
โดย คณะอนุกรรมการ สาขาบริหารงานก่อสร้าง วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
3. การประมาณต้นทุน ศ. พล.ท. มณเฑียร ประจวบดี
4. กลยุทธ์การวิเคราะห์ราคางานก่อสร้าง โดย อ. ปริญญา ศุภศรี
5. การประมูลและควบคุมต้นทุน โดย อ. ปริญญา ศุภศรี
6. การประมาณราคาก่อสร้าง โดย รศ. ดร. พิภพ สุนทรสมัย
7. ประมาณราคางานก่อสร้าง โดย อ. อุทัย อนันต์
8. ข้อมูลต้นทุนงานก่อสร้าง โดย ผศ. วิสูตร จิระดำเกิง
9. สัญญา ข้อกำหนด และการประมาณราคาค่าก่อสร้าง โดย ผศ. วิสูตร จิระดำเกิง
10. ราคาค่าก่อสร้างต่อหน่วยสำเร็จรูป โดย ALPHA TEAM http://www.geocities.com/civil2529/

11. The Engineer’s Cost Handbook. Edited by Richard E. Westney.

12. Construction Cost Analysis and Estimating by Phillip F. Ostwald.

13. Project Management for Engineering and Construction by Garold D. Oberlender.

14. Jelen’s Cost and Optimization Engineering by Kenneth K. Humphreys.

ภาคผนวก
ภาคผนวก 1 ความหมายของ Cost Engineer และอภิธานศัพท์ (Glossary)
http://www.icoste.org/ceqspm.htm
An ICEC White Paper:
WHAT ARE COST ENGINEERING,
QUANTITY SURVEYING,
AND PROJECT MANAGEMENT?
(Issued February 1996; Revised June 2002)
Cost Engineering and Quantity Surveying have similar and highly overlapping functions. Quantity Surveying relates more to building design and construction, while Cost Engineering relates more to engineering projects and processes. However Cost Engineers and Quantity Surveyors commonly work in both areas. Cost Engineering and Quantity Surveying differ primarily in the route taken to professional qualification, not to any substantive difference in the two professions. Project Management overlaps both Quantity Surveying and Cost Engineering in the project cost management area to some degree but most Project Management functions are quite different from those of Cost Engineering and Quantity Surveying.
The following document summarizes the conclusions of discussions held at ICEC International Congresses and endeavors to compare the similarities and differences between the three professions, in terms of cost management matters only. A definition of entire scope of Project Management activity is not intended, nor should it be inferred, from this document.
1. Cost Engineering (CE) and Quantity Surveying (QS)
Functions:
1. To provide independent, objective, accurate, and reliable capital and operating cost assessments usable for investment funding and project control.
2. To analyze investment and development for the guidance of owners, financiers and contractors.
CE and QS include:
- estimates of capital or asset costs including development costs;
- estimates of operating and manufacturing costs through an asset's life cycle;
- risk assessment and analysis;
- trending of scope and cost changes;
- decision analysis;
- financial analysis (eg, net present value, rate of return, etc);
- project cost control;
- appraisals of existing assets;
- project analyses, databases, and benchmarking;
- planning and scheduling;
- siting studies, etc.;
- productive and investment needs assessment;
- facility management needs assessment;
- project feasibility and budget assessment;
- cost management;
- procurement management;
- contract administration;
- whole-life appraisals;
- quality audits;
- value management;
- dispute resolution.
These are typical functions of the CE or QS but not all practitioners in the field perform all of these functions. Many specialize in a limited number of these functions.
The CE or QS provides information by:
- estimating costs and analyzing risk,
- trending and controlling costs and assessing design, and
- documenting costs.
These are interdependent and feed back to each other. They include:
- analyzing cost,
- assessing design,
- assessing risks,
- trending costs,
- advising clients,
- managing cash flows,
- preparing feasibility analyses, and
- assessing life-cycle costs.
2. Project Management (on cost management matters only) (PM)
Function: To set project objectives in line with the purpose(s) set up by general management and to manage the resources necessary to meet the objectives.

PM should:
- ensure that a realistic reference (scope, cost, time) is set up for further control and is in line with the objectives;
- ensure that appropriate management tools are set up to help the team control the project;
- create a cost-minded atmosphere within the team;
- make decisions on what should be done in case of variance;
- ensure that the project objectives remain in line with business needs;


PM delivers the project by:
- managing resources,
- delegating tasks,
- making decisions,
- receiving information,
- setting goals,
- motivating people, and
- understanding cost engineering and quantity surveying.

อภิธานศัพท์ (Glossary) จาก
The Society of Cost Estimating and Analysis (SCEA)
http://scea.timberlakepublishing.com/content.asp?contentid=235
A
ANALYSIS
1) The separation of a whole into its constituents, with a view to its Examination and interpretation. 2) A statement of the results of such a study. 3) A systematic approach to problem solving, whereby complex problems are simplified by separating them into more understandable Elements, which may be solved individually or in combination.

C

CONTRACT

1) An agreement, enforceable by law, between two or more competent parties, to do or not to do something not prohibited by law, for a legal consideration. 2) Any type of agreement or order for the procurement of supplies and services. Contracts may provide for the issuance of job orders, task orders or task letters thereunder, Letter Contracts, and purchase orders. They may also includes Amendments, modifications, and supplemental agreements to the basic contract. See Contract Types.

CONTRACT BOND

A guarantee, backed by Cash or other security, of the faithful performance and fulfillment of all the undertakings, covenants, terms, conditions, and agreements contained in a Contract. The Bond may include a guarantee of the payment of all labor and material bills incident thereto. These two guarantees may be written separately, the first as a Performance Bond, and the second as a Payment Bond.

CONTRACT CLOSE OUT COST(S)

The Costs associated with the orderly close out of a Contract. Close out costs may include those Costs Incurred for disposition or scrap of material and equipment, transfer of Data and documentation for storage, and/or Facilities deactivation, etc.

CONTRACT COST ANALYSIS

The review and Analysis of a Contractor's Cost or price Data to determine whether it is an accurate Estimate of what the Contract should cost, assuming Economy and Efficiency. See Cost Analysis and Cost and Pricing Data.



CONTRACT OVERRUN

The amount by which the estimated final Cost exceeds the contract Target Cost. See Overrun.

CONTRACT PRICE ANALYSIS

1) The Examination and Evaluation of a prospective Price, without the evaluation of separate Cost Elements. 2) The Tracking of a Cost Proposal from price summary to Supporting Data, and the proper application of rates and Factors.

CONTRACT PRICE BASELINE

The final detailed Cost Estimate accepted for the purpose of definitizing a Contract, and for providing a Price base (normally by Work Breakdown Structure Element) for tracking Contract changes.

CONTRACT PRICING

A series of actions used to obtain, evaluate, assess, verify, and adjust Cost or pricing information, and to record the steps taken to ascertain that prices agreed to have been determined to be fair and reasonable.

CONTRACT PRICING PROPOSAL

1) The instrument required of an offeror for the submission or identification of Cost and Pricing Data. 2) The part or section of a Cost Proposal that provides Cost summaries and traceability to lower levels of supporting Data. 3) A DD Form 1411, the general purpose standard format, by which an offeror submits a proposed price to the Government.

CONTRACT PRICING SUMMARY

Summary Costs or prices displayed on specific Government forms, Contractor formats, special Request For Proposal formats, and Contract forms.

CONTRACT TYPE

The specific pricing arrangement employed for the performance of work under a Contract, examples include Fixed Price, Incentive Type, Cost Type, and Cost Reimbursement contracts.

CONTRACT UNDERRUN

The amount by which the estimated final Cost is less than the contract Target Cost.


CONTRACT VALUE

The sum of the prices negotiated or proposed for a Contract.

CONTRACTOR

1) Anyone who provides goods or services, based on the terms of a Contract. 2) An entity in private industry which enters into contracts with the Government to provide goods or services.

COST
1) The monetary value of an item. 2) An amount paid, or required in payment, for a purchase. 3) A loss or penalty.
COST ACCOUNT
A management Control point at which Actual Costs can be accumulated and compared to budgeted Costs for work performed and scheduled. A cost account is a natural control point for cost and schedule planning and control, since it represents the work assigned to one responsible organizational element on one Contract Work Breakdown Structure Element.
COST ANALYSIS
1) The Analysis of Cost. 2) The accumulation and analysis of Actual Costs, statistical Data, and other information on current and completed Contracts or groups of contracts or programs. Cost analysis also includes the manipulation of Cost Data, comparisons and analyses of these data, and cost extrapolations of data for future projections of cost. 3) In DoD Procurement organizations, cost analysis is the review and Evaluation of a contractor's Cost and Pricing Data, and of the judgmental factors applied in projecting from the data to Estimated Costs, in order to form an opinion on the degree to which the Contractor's proposed costs represent what the performance of the contract should cost, assuming reasonable Economy and Efficiency.
COST AND PRICING DATA
The Data used by a Contractor to respond to a Request For Proposal from the Government. The Truth-in-Negotiations Act requires bidding contractors to certify that their Data is complete, current, and accurate as of the date the contractor and the Government agreed on a price.
COST AVOIDANCE
An action taken in the immediate time frame that will decrease Costs in the future. For example, an Engineering improvement that increases the Mean Time Between Failures, and, therefore, decreases operating support Costs would constitute a cost avoidance action. In cost avoidance, it is possible for the avoidance action to incur higher costs in the immediate time frame, as long as net total Life Cycle Costs are lowered. The amount of cost avoidance is the difference between the two Estimated Cost patterns (one before the action and the one after) for the item or system. See also Cost Savings.
COST-BASED BUDGET
A Budget based on the Cost of goods and services to be received, during a given period, whether paid for before the end of the period or not. Not to be confused with an Expenditure-Based Budget, which is based on the cost of goods and services received and actually paid for.
COST BENEFIT
A Benefit to cost Ratio, which is a function of equivalent benefits and equivalent Costs. See Cost Benefit Analysis.
COST BENEFIT ANALYSIS
1) A technique for assessing the range of Costs and Benefits associated with a given option, usually to determine Feasibility. 2) A criterion for comparing programs and alternatives, when benefits can be valued in terms of dollars or costs. Cost Benefit analysis is useful in the search for an optimal program mix, which produces the greatest number of benefits over costs. See Benefit Cost Analysis.
COST BREAKDOWN STRUCTURE
A system for subdividing a program into: (a) system Elements and sub-elements; (b) functions and subfunctions; and, (c) Cost Categories, to provide for more effective management and Control of the program.
COST CAP
The maximum total dollar amount the DoD is willing to commit for acquiring a given Capability. A Cost cap consists of program Acquisition Costs only, and is maintained in constant dollars.
COST CATEGORIES
1) Cost Elements. 2) Appropriations.
COST CENTER
1) An administrative unit, or responsibility center, selected for the purpose of identifying and controlling Costs. The unit has managerial responsibility, usually consists of a related grouping of methods and Facilities, and is made up of Elements having common cost Characteristics. 2) The basic unit of Control in cost Accounting.
COST CONTRACT
1) A Contract which provides for payment to the Contractor of Allowable Costs, incurred in performance of the contract, to the extent prescribed in the contract. 2) A Cost Reimbursement contract, under which the contractor receives no fee. See Contract Type.
COST CONTROL
The application of procedures which result in the early illumination of potential changes in resource requirements, and in the timely surveillance of the usage of funds, to permit action that will keep Costs within a predetermined range.
COST DATA
The term given to cost Statistics or Historical Cost records which usually have not been analyzed and organized.
COST DISALLOWANCE
Costs which the Contractor considers Allowable Costs, but which are specifically not accepted for Reimbursement by a customer or the Government.
COST DRIVER
Those Characteristics of a system or item which have a major effect on the system's or item's Cost.
COST EFFECTIVENESS
1) The measure of the Benefits to be derived from a system or item, with Cost as the primary, or one of the primary, measures. 2) A measure of the Operational Capability added by a system, as a function of its Life Cycle Cost.
COST EFFECTIVENESS ANALYSIS
A method for examining alternative means of accomplishing a desired objective or mission for the purpose of selecting the alternative which will provide the greatest Effectiveness for the Cost. See Benefit Cost Analysis.
COST ELEMENT
An identifiable function, or a common group of functions, which have been established as a separate entity for the purpose of Estimating, collecting, controlling, and reporting contract Costs. Cost Elements often include Functional Area groupings (i.e., Engineering, manufacturing, test, etc.), Acquisition Phase categories (i.e., Development, production, operating and support, etc.), or types of cost (i.e., labor, material, overhead, etc.). See also Cost Categories.
COST ESTIMATE
1) A judgment or opinion regarding the Cost of an object, Commodity, or service. 2) The product of a Cost Estimating procedure, which specifies the expected dollar cost required to perform a stipulated task, or to acquire a specific item. A cost Estimate may constitute a single value or a range of values. 3) A calculation of the total resources (labor hours, material costs), travel, Computer costs and other costs, including appropriate rates and Factors, which are required to accomplish a Contract, task, or work item.
COST ESTIMATE TYPES
Cost Estimates are grouped into four general categories: (a) Planning Estimates, often referred to as Rough Order of Magnitude or Ball Park Estimates, which are intended to grossly approximate the value of a given task or program. Planning Cost estimates are of a low confidence level, since they are based upon loosely defined program ground rules, plans, definition, and Data with respect to scoping the overall schedules, statement of work, equipment lists, and delivery requirements. Because of this, a significant risk allowance is usually added to planning Estimates for undefined work and other unknowns. Planning estimates are generally required early in the program definition Cycle for the purpose of go-no go decisions. The amount of Estimating detail is minimal, and normally only a top dollar value is provided. Planning estimates are submitted for information purposes only and do not represent a formal Commitment. (b) Budget Estimates, which are normally required for funding, fiscal planning, or procurement decisions. Budget estimates are often derived through the use of preliminary functional organization estimates and gross parameters, and are based upon substantially well defined data and ground rules, but require additional definition before a firm price can be quoted. An allowance for undefined work and unknowns is generally added to budget estimates. Budget estimates denote pricing accuracies that are superior to planning estimates, but still do not represent a firm commitment. (c) Firm Cost Estimates, which are used in Cost Proposals intended to be a binding obligation on a company. These estimates are based on well defined plans and data, and are usually in response to a customer firm request for Business that has a near term go-ahead. Firm estimates require the submission of the greatest amount of substantiating detail, and the preparation of an extensive backup package, to support contractual Fact-finding and negotiations. (D) Not To Exceed (NTE), or Not Less Than (NLT), Estimates, which are commitments from a Contractor as to the maximum amount (or minimum Credit) required to accomplish (or delete) a specific task, item, or procurement. NTE/NLT estimates are prepared from planning, Budget, or firm estimate information. The amount of Contingency or NTE/NLT allowance added is strictly an estimator or management judgment factor.
COST ESTIMATING
1) The art of approximating the probable Cost or value of something, based on information available at the time. 2) The art of predetermining the lowest realistic cost and price of an item or activity which assure a normal profit. See Cost Estimating Methods and Cost Estimating Process.
COST ESTIMATING METHODS (OR METHODOLOGIES)
Cost Estimates are developed through a variety Estimating methodologies, which may be applied individually, or in combination, depending on the information and resources available to the Cost estimator. Each of the methods requires an Analysis of the total job, and a definition of the work to be performed in some detail. See Cost Estimating, Estimating Methodology, and specific methodologies and types of Estimates, such as Detailed, Empirical, Comparative, Analogy, Parametric, Statistical, Standard, Round Table, Expert Opinion, Grass Roots, and Extrapolation from Actual Costs.
COST ESTIMATING PROCESS
The process of developing a Cost Estimate can be divided into the following basic steps: (a) Step 1, Define and plan the work to be done in as much detail as possible. This step includes determining the purpose, scope, and time Constraints for the Estimate, establishing an Estimating team, and analyzing the details of the work to be done, and the kinds and quantities of materials, parts, and equipment required. (b) Step 2, Identify the Cost Elements or Cost generating Functional Areas (i.e., Engineering, manufacturing, procurement, etc.) which will be required to do the work defined in Step 1. (c) Step 3, Schedule by time the work and effort defined and identified in Steps 1 and 2. (d) Step 4, Select appropriate Cost Estimating Methodologies for each cost Element, and estimate the man hours, material costs, and other cost generating variables, as well as the elapsed time required to perform each detail of the work. (e) Step 5, Estimate the costing rates and Factors for the work to be done. (f) Step 6, Apply the costing rates and factors to the individual cost elements to establish total costs. (g) Step 7, Evaluate the costs estimated so far. This step includes the application of alternative, secondary methodologies to Cost Drivers, preparation of an independent cost estimate, if desired, making any adjustments to the estimate that are required, or requested resulting from the review and Analysis, and the application of desired profit and other Cost Factors and prorations or additions, to establish the final cost estimate. (h) Step 8, Present the estimate to management for submittal to the customer. (i) Step 9, Finish documenting the rationale, methodology, and supporting information utilized for the estimate; and, (j) Step 10, Support source selection, negotiation, Fact-finding, and/or Audits, and update the estimate, as required. Although these steps are numbered sequentially, in reality, the process is iterative, and individual steps often occur out of sequence or repeatedly throughout the estimating process. For instance, for an estimate to be useful and realistic, the estimator must involve and apprise management throughout the process, and not wait to present the estimate as a complete, final package.
COST ESTIMATING RELATIONSHIPS (CER)
1) A mathematical expression defining Cost as the dependent Variable to one or more independent cost driving variables. The relationship may utilize costtocost variables, such as manufacturing hours to quality assurance hours, or manufacturing hours to expendable material such as rivets, primer, or sealant, or costtononcost variables, such as manufacturing hours to weight, or Engineering hours to the number of engineering drawings. 2) A mathematical equation defining cost as a function of one or more technical parameters, such as performance or operating Characteristics. 3) A Factor that quantitatively equates the affects of a specified parametric value with cost or effort.
COST ESTIMATING UNCERTAINTY
A condition where resultant Actual Cost varies from Cost Estimates, due to the inherent deficiencies in Cost Estimating procedures, rather than to changes in the item or system being estimated.
COST FACTOR
1) A Cost Estimating Relationship (CER), in which Cost is directly proportional to a single independent variable. 2) A brief arithmetic expression wherein cost is determined by the application of a Factor, such as a percentage of labor or material, etc.
COST GENERATOR
A term used in system Cost Estimates to cover a large group of agencies, Contractors, or armed services, etc., involved with generating the Costs associated with the system.


COST GROWTH
The net change in an estimated or Actual Cost amount, over a Base figure previously established. The base must be relatable to a program, project, or Contract, and be clearly identifiable with respect to source, approval authority, specific items included, specific Assumptions made, the date and amount.
COST INCURRED
1) A Cost identified through the use of the Accrual Method of Accounting. 2) The cost of Direct Labor, Direct Materials, and direct services identified with, and necessary for, the performance of a Contract, and the cost of properly allocated and allowable indirect charges, all already completed and paid for by the Contractor.
COST INPUT
A portion of an Estimate received from a supporting functional organization or division.
COST MANAGEMENT SYSTEM
A system which proposes that an estimated planned value can be placed on items of work to be performed and once that work is completed, that same planned value can be considered to be earned. See also Cost/Schedule Control Systems Criteria.
COST MODEL
1) A compilation of Cost estimating logic that aggregates Cost Estimating details into a total Cost Estimate. 2) An ordered arrangement of Data, Assumptions, and equations that permits translation of physical resources or Characteristics into costs. Cost models generally: (a) consist of a set of equations, logic, programs, and input formats to specify the problem; (b) allow for the input of program information, including both system description data and Estimating Relationships; and, (c) produce an output format.
COST OBJECTIVE
An Objective within a functional, organizational subdivision, Contract, or other work unit, for which Cost Data are desired, and for which provision is made to accumulate and measure the Cost of processes, products, jobs, and capitalized projects, etc.
COST OVERRUN
1) The amount by which a Contractor exceeds either the estimated contract Cost, or the final limitation (Ceiling) of his Contract. 2) The amount by which Actual Costs exceed expected or budgeted cost. See also Contract Overrun.
COST PROPOSAL
A submission by a potential Contractor, for the purpose of planning, or to be used for definitive negotiation, indicating the Cost to the procuring Agency or buyer for the conduct of a specified extent of work. The Proposal includes an amount of cost supporting detail commensurate with the purpose, coverage, and other Characteristics of the proposal. The proposal may or may not be in response to a Request for Proposal.
COST REIMBURSEMENT
A family of pricing arrangements that provide for payment of allowable, allocable, and reasonable Costs incurred in the performance of a Contract, to the extent that such costs are prescribed or permitted by the contract. See Reimbursable and Cost Reimbursement Contracts.
COST REIMBURSEMENT CONTRACT
A Contract Type which provides for payment to the Contractor of Allowable Costs incurred in the performance of the Contract, to the extent prescribed in the contract.
COST RISK
An Assumption of possible monetary loss in light of the complexity or unknown nature of the job or work to be done. One of the Elements to be considered in the negotiation of a fair and reasonable price, as well as in determining the type of Contract under which performance will occur. See Risk Analysis.
COST SAVINGS
An action that will result in a smaller than projected level of Costs to achieve a specific Objective. Cost savings are usually related to Incentive Type Contracts, where the Contractor and Government share in any difference in cost below the estimated Target Cost incurred by the contractor to achieve the objective of the Contract. It differs from Cost Avoidance, in that a cost target has been set from which the amount of savings can be measured. In cost avoidance, the amount is determined as the difference between two estimated cost patterns.
COST SENSITIVITY
1) A measure of how Costs vary with changes in program or item Characteristics. 2) A condition which exists when the amount of costs vary greatly with a small variation or change in program or End Item characteristics. See Sensitivity.
COST SHARING
An arrangement under which the Costs for a program are shared by the two parties (Government and Contractor, or contractor and subcontractor) concerned.
COST SHARING CONTRACT
A Cost Reimbursement Contract under which the Contractor receives no fee, or only a small basic fee, and is reimbursed only for an agreed portion of the Target Cost based on Cost performance.
COST SUBSTANTIATION
The documentation used to support a Cost Estimate. See Substantiation.

COST TRACK(ING)
1) A step by step record of the revisions and updates of proposed Costs from the original submittal of a Baseline estimate to the final agreement on costs. 2) A historical record of selected cost information (estimated or actual), with written Analysis which explains variance among cost entries. 3) The flow of Cost Data from the summary total to the detailed Supporting Data. 4) Establishing and maintaining permanent records of successive Cost Estimates, together with the reasons for changes or variances in those cost Estimates.
COST TYPE CONTRACT
A Contract which provides for payment to the Contractorof Allowable Costs in the performance of the contract, to the extent prescribed in the contract. See Cost Contract and Cost Reimbursement Contract.
COST UNDERRUN
1) The amount by which actual contract Cost is less than either the estimated Contract cost, or the final limitation (Ceiling) of the contract. 2) The amount by which Actual Costs are less than expected or budgeted cost.
COST VALIDATION
1) An Examination or Cost Analysis to determine the validity and accuracy of a Cost Estimate and its computation. 2) A test of a Cost estimate to confirm that it is sound, wellgrounded on Cost Estimating Methods, and founded on fact, or capable of being justified, supported, and defended. 3) A test of the accuracy, accounting, or development of the resource Data used to substantiate or derive a cost Estimate.
COST VARIANCE
1) A Cost Overrun or Cost Underrun. 2) The Deviations from the Baseline plan, as determined by a comparison of the Actual Costs (Actual Cost of Work Performed) with the Earned Value (Budgeted Cost of Work Performed). Cost variance are generally identified separately for Development, Procurement, and construction, and are also classified, by cause, according to the following categories: (a) Quantity change; (b) Engineering Change; (c) Support change; (d) Schedule change; (e) Economic change; (f) Estimating change; (g) Unpredictable change; (h) Contract performance incentives; and, (i) Contract cost overrun (or underrun).
COST VERIFICATION
The process of checking a Cost Estimate for mathematical accuracy and proper Cost Tracking.



E
ESTIMATE
1) To evaluate and calculate the approximate quantity, Cost, or extent of a given item or task. 2) A calculation of the total resources (labor hours, material costs), travel, Computer costs and other costs, including appropriate rates and Factors, which are required to accomplish a contract, task or work item. See Estimating and Cost Estimate.
ESTIMATE TO COMPLETION (ETC)
An Estimate of all Costs for the authorized but unaccomplished portion of a specific Contract from the date of the estimate through contract completion. See also Balance to Complete Estimate.
ESTIMATED ACTUALS
The Costs reported to a contract during a contractor's accounting year, consisting of: (a) the Direct Labor and material reported in this period as Actuals, which are not subject to revision; and, (b) the applicable Overhead and General and Administrative (G&A) Costs, as reported to the contract on approved Billing rates. The term "estimated actuals" is used because these rates cannot be firm until the close of the accounting year and the completion of the Government Audit and negotiation of allowable charges to overhead and G&A pools. Contract Billings are then adjusted upward or downward to reflect the results of the approved overhead charges and rate negotiations.
ESTIMATED COST
1) The conversion of Estimates into dollars by the application of rates and Factors. 2) The amount stated in a contract as the estimated Cost. 3) In proposal usage, the estimated cost includes costs without profit or fee.
ESTIMATED COST AT COMPLETION
The current Estimate of what the final Cost will be for a specific task, whether it is the total contract or just a portion thereof. It consists of actual Direct Costs, plus Indirect Costs allocable to the contract or task, plus the estimate of costs (direct and indirect) for Authorized Work remaining to be accomplished.
ESTIMATED TOTAL PRICE
Total Cost plus Fee or Profit, synonymous with the term Price.
ESTIMATING
1) The art of approximating the probable worth, extent, quantity, quality, or character of something based on information available at the time. 2) The prediction of Cost(s). 3) The generation of detailed and realistic forecasts of hours, material costs, or other requirements for a task, subtask, operation, or a part or groups thereof, generally in response to a Request for Proposal or specific Statement of Work. Estimating also covers the generation of forecasted costing Rates and Factors, with which estimate Variables may be converted to costs, and the application of these costing rates and Factors to "estimate numbers" to establish forecasted costs. See also Estimate, Cost Estimate, Cost Estimating, and Cost Estimating Methods.
ESTIMATING INSTRUCTIONS
Direction specifying the information and inputs required to develop, prepare, and document a Cost Estimate.
ESTIMATING METHODOLOGY
1) The approach used to develop an Estimate. 2) A description of the Estimating system utilized and the steps undertaken to achieve a particular estimate. 3) An explanation of how an estimate was calculated, as opposed to the Rationale, which is what makes the estimate reasonable or valid. See also Cost Estimating Methods, Estimating Techniques, and Methodology.
ESTIMATING RELATIONSHIP
1) A statement describing how two or more Variables affect each other. 2) A mathematical formula used to derive an Estimate of one variable based on its relationship to other variables. Estimating relationships may be simple multipliers, which, when applied to other variables, establish an estimate of hours, material Cost, or some other basic estimate. The use of Estimating relationships or Cost Estimating Relationships (CER) is often referred to as Parametric Estimating. See also Factor.
ESTIMATING TECHNIQUE
The processes or procedures used to develop an Estimate, estimating techniques include Cost Models, Cost Estimating Relationships, and Improvement Curves, etc. See also Cost Estimating Methods, Estimating Methodology, and Methodology.
ESTIMATOR
A person who performs Estimating tasks.
EVALUATE
To ascertain, judge, or fix the value, amount, or worth of something.
EVALUATION
The review and Analysis of information or Data. See also Technical Evaluation and Test and Evaluation.
EVALUATION CRITERIA
1) The standards against which performance, conformance and/or accomplishments are measured and evaluated. 2) In a Request for Proposal, the list of specific requirements and standards against which all Proposals will be rated and judged. See also Criteria for Evaluation.

O
OPERATING COST

1) The total Outlay in Cash, or its equivalent, applied in carrying out a specific program or function. 2) Those program Costs necessary to operate and maintain military Capability. These costs include the DoD Appropriations categories of Military Personnel and Operations and Maintenance. 3) A alternate Life Cycle Cost term for Operating and Support Cost.

OPERATING TIME

The time during which a system is operating in a manner acceptable to the operator.

OPERATION

1) A method of productive activity. 2) The intentional changing of an object in any of its physical or chemical Characteristics. 3) The Assembly or disassembly of parts or objects. 4) The preparation of an object for another operation, transportation, inspection, or storage. 5) The planning, calculating, giving, or receiving of information. 6) Military action using deployed forces.

OTHER COSTS

A Cost Element which covers Costs not usually listed under Direct Material, Direct Labor, or Overhead. Examples of other costs include costs for Computer time, travel, freight, Consultants, remote activities, and taxes, etc.

OVERHEAD

A Cost which, because of its incurrence for common or joint objectives, is not readily subject to treatment as a Direct Cost. Such Indirect Cost is incurred to benefit the total Direct Cost or Business base of a contractor. The character of overhead cost thus requires Estimating, Budgeting, and Control techniques that take into account the total business base of a contractor. Accordingly, the overhead applicable to any one Cost Estimate or Contract is by an appropriate distribution of indirect costs through the use of a rate per hour or percentage applied to direct hours or Costs.

OVERHEAD BUDGET

A Management allocation of planned Indirect Costs to each established Overhead Pool or organization.

OVERHEAD POOL

A grouping of Overhead expenses determined to be applicable to a previously determined distribution Base, such as manufacturing or Engineering Direct Labor hours.

OVERHEAD RATES

Indirect dollars per hour or Cost to cost relationships that mathematically reflect the distribution of Overhead costs over a labor or cost Base.

OVERRUN

Costs in excess of the contemplated or Target Cost. See Contract Overrun.

OWNERSHIP COST

The Cost of the Cost Elements within the Operating and Support Cost category, exclusively. O&S costs include those costs associated with operating, modifying, maintaining, supplying, and supporting a weapon/support system in the DoD inventory.

P
PARAMETRIC COST ESTIMATING
A Cost Estimating Methodology, using statistical relationships between Historical Costs and other program variables such as system physical or performance Characteristics, contractor output measures, and manpower loading, etc. 2) An Estimating technique which employs one or more Cost Estimating Relationships for the measurement of Costs associated with the Development, manufacture, and/or modification of a specified End Item based on its technical, physical, or other characteristics. See also Statistical Cost Estimating.

PRICE
1) Value or worth. 2) The sum of money or goods asked or given in exchange for something. 3) The Cost at which something is obtained. 4) The dollar value for which a company will sell its product or commit to a contract. Price includes Profit or Fee added to cost. 5) A Cost Model available on a fee basis to Estimate hardware and software costs.
PRICE AND AVAILABILITY (P&A) DATA
An Estimate of the Cost of an item and its possible delivery dates.
PRICE AND AVAILABILITY (P&A) STUDY
The effort required to prepare Price and Availability Data for use in the preparation of a letter of obligational authority.
PRICE ANALYSIS
The process of examining and evaluating a prospective Price, without an Evaluation of the separate Cost Elements and proposed Profit of the individual offeror whose price is being evaluated. Price Analysis may be accomplished by: (a) a comparison of submitted quotations; (b) a comparison of price quotations and contract prices with current quotations for the same or similar items; (c) the use of parameters (dollars per pound, for instance); and/or, (d) a comparison of proposed prices with independently developed Cost Estimates.
PRICE BREAKDOWN
The orderly listing of the Functional Cost Categories and their Cost Elements which constitute a Price.
PRICE (LEVEL) INDEX
1) A ratio indicating the relationship between Prices at two different time periods. Labor and Materials, within designated industry areas, are the two resources usually considered in determining a price index. The costofliving index is a form of price index. 2) A Factor used to convert Constant Dollar amounts from one year to another.
PRICE LIST
A listing of sales or catalog Prices for a company's products.
PRICED BILL OF MATERIAL
A list of all Material complete with unit and total Prices for a specific subassembly, Assembly, or End Item. See Bill of Material.
PRICING
1) The establishment of a sales Price. 2) The development and justification of sales price proposals, including the selection, projection, and Evaluation of rates, ratios, Factors, and comparative analyses with present or past programs and Market evaluations.
PRICING AGREEMENTS
A written agreement between the contractor and the Government, describing how the contractor's Estimating system will be employed in preparing and supporting contractor price Proposals. The agreement may encompass such areas as proposal structure, requirements for Cost and Pricing Data, use of Forward Pricing Rate Agreements, pricing formulas, and identification and use of Data banks, etc. See also Pricing Rates.
PRICING ARRANGEMENT
An agreedto basis between contractual parties for the payment of amounts for specified performance. Usually expressed in terms of a specific costreimbursement or fixedprice type arrangement. See Contract Type.
PRICING CENTER
A segment of a company organizationally and functionally chartered to have separate Overhead accounts and its own overhead rates for use in negotiating and pricing contracts that it will perform.

PRICING GUIDELINES (OR INSTRUCTIONS)
Memos or documents containing Proposal plans, strategy, organization instructions, or Request For Proposal requirements. See Estimating Instructions.
PRICING PACKAGE
(OBSOLETE) An old term used in Proposals for a task or a group of tasks, as determined from the contract Statement of Work. Current proposals generally price work by Work Breakdown Structure tasks.
PRICING RATES
Rates negotiated with the resident Administrative Contracting Officer for use in Pricing new contract Proposals and follow on Business. Negotiations are normally conducted once each year, or whenever either party determines is appropriate. See also Forward Pricing Rate Agreements and Pricing Agreements.


ภาคผนวก 2
รายงานการศึกษา รายละเอียดลักษณะและการเปรียบเทียบของระบบข้อกำหนด นานาชาติ (A Description and Comparison of National Specification Systems)
http://www.icis.org/Technical/ICIS_Report_1-2002.pdf

International Construction Information Society (2001) ได้ทำการศึกษาและจัดทำรายงานแสดงรายละเอียดรูปแบบลักษณะของข้อกำหนดและทำการเปรียบเทียบ ระบบการจัดทำข้อกำหนดของสมาชิกของสมาคมข้อมูลการก่อสร้างระหว่างประเทศ (The International Construction Information Society, ในอดีตคือกลุ่มข้อกำหนดการก่อสร้าง Building Specification Group – BSG)จำนวน 14 ราย จากประเทศต่าง ๆ รวม 12 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย แคนาดา สาธารณรัฐ เชค ฟินแลนด์ เยอรมัน ญี่ปุ่น เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ สวีเดน สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา
ในรายงานฉบับนี้ คณะทำงานได้ทำการศึกษา และวิเคราะห์ระบบข้อกำหนด ของประเทศต่าง ๆ ดังกล่าว เพื่อให้ทราบถึง ลักษณะและรายละเอียดต่าง ๆ ของระบบข้อกำหนด ภายใต้หัวข้อ ดังต่อไปนี้
1. ประเภทของระบบข้อกำหนด
2. ขอบเขตทั่วไปของระบบข้อกำหนด
3. การแบ่งหมวดหมู่และโครงสร้างของระบบข้อกำหนด
4. ผู้ใช้และวิธีการใช้ระบบข้อกำหนด
5. การปรับปรุงระบบข้อกำหนด
6. การอ้างอิงผลิตภัณฑ์
7. แนวทางการใช้ระบบข้อกำหนด
8. การใช้คอมพิวเตอร์
9. การเชื่อมโยงกับเอกสารอื่นๆ
10. ปริมาณการใช้
11. เนื้อหาด้านด้านกฎหมายและสัญญา
12. เนื้อหาด้านสิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อข้อกำหนด
การศึกษารายละเอียดจากรายงานฉบับนี้ ทำให้ทราบถึงลักษณะต่าง ๆ ของข้อกำหนดของต่างประเทศ ซึ่งจะเป็นข้อมูลพื้นฐานเบื้องต้นเพื่อการจัดแบ่งหมวดหมู่ ประเภทของงานต่าง ๆ
ภาคผนวก 3
MasterFormat™ 2004 Edition: Numbers & Titles (PDF).
Construction Specifications Institute (CSI).

http://www.csinet.org/s_csi/pdf.asp?TP=/s_csi/docs/9400/9361.pdf

Construction Specifications Institute (CSI) เป็นสถาบันมาตรฐานข้อกำหนดของสหรัฐอเมริกา ได้ดำเนินการจัดทำรูปแบบสำหรับข้อกำหนดเพื่อการก่อสร้าง ตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1961 จนแล้วเสร็จเป็น มาตรฐานการจัดแบ่งหมวดหมู่ของข้อกำหนดเพื่อการก่อสร้าง MasterFormat (The CSI Format for Construction Specifications) ใน ปี ค.ศ. 1964 จากนั้นก็มีการปรับปรุง เพิ่มเติม เป็นระยะ ๆ จนถึงฉบับล่าสุด ใน ปี ค.ศ. 1995 มีการจัดแบ่งหมวดหมู่ของข้อกำหนดเป็น 16 หมวด และได้ใช้มาจนถึงปัจจุบัน
ในประเทศไทย โดยคณะอนุกรรมการบริหารการก่อสร้าง ภายใต้คณะกรรมการวิชาการสาขาวิศวกรรมโยธา ของ สมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (ว.ส.ท.) ได้จัดทำเอกสาร “แนวทางการวัดปริมาณงานก่อสร้างอาคาร ในส่วนของงานโครงสร้างและงานสถาปัตยกรรม” และเอกสาร “แนวทางการจัดการข้อมูลงานก่อสร้าง สำหรับการประเมินและควบคุมราคางานก่อสร้าง” โดยประยุกต์ใช้ MasterFormat ของ Construction Specifications Institute (CSI) ด้วยเหตุผลที่ว่า ระบบนี้เป็นระบบที่ยอมรับ และใช้กันแพร่หลายทั่วโลก (คณะอนุกรรมการบริหารการก่อสร้าง, 2542)

 หัวข้อการจัดหมวดหมู่ตามมาตรฐาน ของ สถาบันข้อกำหนดการก่อสร้าง สหรัฐอเมริกา ปี ค.ศ. 1995 (MASTER LIST OF SPECIFICATIONS : CONSTRUCTION SPECIFICATIONS INSTITUTE 1995)
DIVISION 1 GENERAL REQUIREMENTS
หมวดที่ 1 ความประสงค์ ทั่วไป
DIVISION 2 SITE WORK
หมวดที่ 2 งานสนาม
DIVISION 3 CONCRETE
หมวดที่ 3 งานคอนกรีต
DIVISION 4 MASONRY
หมวดที่ 4 วัสดุก่อ
DIVISION 5 METALS
หมวดที่ 5 งานโลหะ
DIVISION 6 CARPENTRY
หมวดที่ 6 งานไม้
DIVISION 7 THERMAL AND MOISTURE PROTECTION
หมวดที่ 7 งานป้องกันความร้อนและความชื้น
DIVISION 8 DOORS AND WINDOWS
หมวดที่ 8 งานประตู และหน้าต่าง
DIVISION 9 FINISHES
หมวดที่ 9 งานตกแต่ง
DIVISION 10 SPECIALTIES
หมวดที่ 10 งานพิเศษเฉพาะอย่าง
DIVISION 11 EQUIPMENT
หมวดที่ 11งานอุปกรณ์
DIVISION 12 FUNISHINGS
หมวดที่ 12 งานเฟอร์นิเจอร์
DIVISION 13 SPECIAL CONSTRUCTION
หมวดที่ 13 งานก่อสร้างพิเศษ
DIVISION 14 CONVEYING SYSTEM
หมวดที่ 14 งานระบบการลำเลียงขนส่ง
DIVISION 15 MECHANICAL
หมวดที่ 15 งานเครื่องกล
DIVISION 16 ELECTRICAL
หมวดที่ 16 งานระบบไฟฟ้า

 การปรับปรุง แก้ไข ขยายเพิ่มเติม รายละเอียดการจัดหมวดหมู่ตามมาตรฐาน ของ สถาบันข้อกำหนดการก่อสร้าง สหรัฐอเมริกา ฉบับใหม่ ปี ค.ศ. 2001-2003

ด้วยเหตุแห่งความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี ทั้งทางด้านเทคโนโลยีการก่อสร้างรวมถึงความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เครือข่ายอินเทอร์เน็ต การใช้ฐานข้อมูล ระบบการประกวดราคาออนไลน์ การแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ ผู้บริหารระดับสูงของสถาบันได้มอบหมายให้คณะทำงาน เริ่มศึกษา รวบรวมข้อมูล จากองค์กรกว่า 500 องค์กร หาแนวทางปรับปรุงแก้ไข ขยายเพิ่มเติม รายละเอียดการจัดหมวดหมู่มาตรฐาน ตั้งแต่ เดือน เมษายน ปี ค.ศ. 2001

การปรับปรุงได้ดำเนินการภายใต้แนวทาง ดังนี้
1. พยายามเปลี่ยนแปลงรายละเอียดเกี่ยวกับงานสถาปัตยกรรมให้น้อยที่สุด
2. คงส่วนของผลิตภัณฑ์ในข้อกำหนดไว้
3. จัดทำรูปแบบของข้อกำหนดให้เป็นที่ยอมรับมากขึ้น
4. ขยายขอบเขตของข้อกำหนดให้ครอบคลุมวิศวกรรมด้านอื่น เพิ่มจากงานอาคาร
5. ปรับปรุงรูปแบบให้สอดคล้องกับหลักการจัดแบ่งหมวดหมู่ใหม่
6. เผื่อหัวข้อสำหรับการเพิ่มเติมในอนาคต
7. คงความสอดคล้อง การสัมพันธ์ระหว่างหมวดหมู่ไว้
8. ขยายขอบข่ายความครอบคลุมของข้อกำหนดให้ครบวงจร รวมถึงด้านการใช้งานจากฝ่ายเจ้าของงานและผู้จัดการด้านสาธารณูปโภค
กำหนดการจำหน่ายจ่ายแจก เพื่อการใช้งานเชิงพาณิชย์ ภายใน เดือน กันยายน ค.ศ. 2004 นี้

 หัวข้อการจัดหมวดหมู่ ฉบับใหม่ ของ สถาบันข้อกำหนดการก่อสร้าง สหรัฐอเมริกา ฉบับ ค.ศ. 2004 (MASTER LIST OF SPECIFICATIONS : CONSTRUCTION SPECIFICATIONS INSTITUTE 2004)

กลุ่ม: การจัดซื้อจัดหาและสัญญา
หมวด 00 -การจัดซื้อจัดหาและสัญญา

กลุ่ม : ข้อกำหนด
กลุ่มย่อย : ความต้องการทั่วไป
หมวด 01 - ความต้องการทั่วไป
กลุ่มย่อย : การก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวก
หมวด 02 - ลักษณะสภาพที่เป็นอยู่
หมวด 03 - งานคอนกรีต
หมวด 04 - งานวัสดุก่อ
หมวด 05 - งานโลหะ
หมวด 06 - งานไม้ พลาสติก และวัสดุประกอบอื่น ๆ
หมวด 07 - งานป้องกันความร้อนและความชื้น
หมวด 08 – งานช่องเปิด ประตูและหน้าต่าง
หมวด 09 - งานตกแต่ง
หมวด 10 - งานพิเศษเฉพาะอย่าง
หมวด 11 - งานอุปกรณ์
หมวด 12 - งานเฟอร์นิเจอร์
หมวด 13 - งานก่อสร้างพิเศษ
หมวด 14 - งานระบบการลำเลียงขนส่ง
กลุ่มย่อย : งานสิ่งอำนวยความสะดวกในด้านบริการ
หมวด 21 – งานระงับอัคคีภัย
หมวด 22 - งานท่อสุขาภิบาล และสุขภัณฑ์
หมวด 23 - งานระบบระบายอากาศและปรับอากาศ
หมวด 25 – ระบบควบคุมอัตโนมัติแบบเบ็ดเสร็จ
หมวด 26 - งานไฟฟ้า
หมวด 27 - งานระบบโทรคมนาคม
หมวด 28 – การรักษาความปลอดภัยและการรักษาความปลอดภัยด้วย
อิเล็กทรอนิกส์
กลุ่มย่อย : งานสนามและโครงสร้างพื้นฐาน
หมวด 31 - งานดิน
หมวด 32 - งานปรับปรุงพื้นที่ภายนอก
หมวด 33 - ระบบสาธารณูปโภค
หมวด 34 - งานขนส่ง
หมวด 35 - งานทางน้ำและทะเล
กลุ่มย่อย : งานอุปกรณ์ที่ใช้ในกระบวนการ
หมวด 41 – อุปกรณ์ในการควบคุมจัดการวัสดุ
หมวด 42 – อุปกรณ์ในการควบคุมความร้อน ความเย็น และกระบวนการ ลดความชื้น
หมวด 43 – อุปกรณ์ในการควบคุมแก๊ส ของเหลว การทำให้บริสุทธิ์และ การเก็บบรรจุ
หมวด 44 – อุปกรณ์ในการควบคุมมลภาวะ
หมวด 45 – อุปกรณ์ในงานอุตสาหกรรมการผลิตเฉพาะ
หมวด 46 – อุปกรณ์ในการควบคุมของเสีย
หมวด 48 - แหล่งกำเนิดพลังงานไฟฟ้า

ภาคผนวก 4 A
Engineering Instructions : Construction Cost Estimates
U.S. Army Corps of Engineers
http://www.hq.usace.army.mil/cemp/e/ec/PDF/EI01D010%20Construction%20Cost%20Estimates.pdf

This document establishes uniform guidance to describe methods, procedures, and formats for the preparation of construction cost estimates for U. S. Army Corps of Engineers projects. Guidance is also provided for the preparation of estimates for project/construction contract modifications.

ภาคผนวก 4 B
Engineering Regulation : Civil Works Cost Engineering
U.S. Army Corps of Engineers
http://www.usace.army.mil/inet/usace-docs/eng-regs/er1110-2-1302/entire.pdf

This Engineering Regulation (ER) provides policy, guidance, and procedures for cost engineering responsibilities for all Civil Works projects assigned to the U.S. Army Corps of Engineers (USACE).

Appendix A - References
Appendix B - Abbreviations and Acronyms
Appendix C - Type of Cost Estimates
Appendix D - Procedures for Preparation of Cost Estimates
Appendix E - Typical Civil Works Project Development
Appendix F - Standard Estimating Forms
Appendix G - Preparation of Dredge Cost Estimates
Appendix H - Regional Dredge Teams


ภาคผนวก 5
Engineering Pamphlets : Construction Equipment Ownership and Operating Expense Schedule
U.S. Army Corps of Engineers
http://www.usace.army.mil/inet/usace-docs/eng-pamphlets/ep1110-1-8(vol7)/toc.htm

Table of Contents
Chapter 1 - Introduction
Chapter 2 - Methodology for Construction Equipment
Chapter 3 - Adjustments to Hourly Rates
Chapter 4 - Methodology for Dredging Plant and Marine Equipment
Appendix A - References
Appendix B - Area Factors
Appendix C - Guide for Selecting Operating Conditions
Appendix D - Equipment Hourly Expense Calculation Factors
Appendix E - Economic Indexes for Construction Equipment
Appendix F - Tire Description and Tire Cost
Appendix G - Tire Life and Tire Wear Factors
Appendix H - Manufacturer List
Appendix I - Federal Cost-of-Money Rate
Appendix J - Equipment Accessories
Appendix K - Acronymns
Appendix L - Ground Engaging Component Costs Included in Repairs

ภาคผนวก 6
ตาราง Factor F
 งานอาคาร
 งานทาง
 งานสะพานและท่อเหลี่ยม

http://www.gprocurement.go.th/02_price/index.php
ขอบคุณข้อมูลดีๆนี้ จาก - http://www.pantown.com/group.php?display=content&id=9176&name=content1&area='