จะสร้างมาตรฐานการประเมินค่าทรัพย์สินในไทยได้อย่างไร
| ||||||||||||||||||||||||||||
มาตรฐานวิชาชีพเป็นสิ่งที่บรรลุได้ การประเมินค่าทรัพย์สินตามมาตรฐานสากลนั้นจำเป็นในทุกภาวะไม่เฉพาะในภาวะตกต่ำเช่นปัจจุบัน และมูลค่าที่ประเมินอย่างเป็นธรรมย่อมสะท้อนความเชื่อมั่นของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายในสังคมและโลกเดียวกันนี้ สิ่งที่ต้องจำให้มั่นก็คือมาตรฐานวิชาชีพที่ดีเป็นสิ่งที่สามารถบรรลุได้ไม่ยากเมื่อทุกฝ่ายร่วมใจกันสร้างขึ้น
ใช่ว่านักประเมินไทยส่วนใหญ่ไร้มาตรฐาน แพทย์อาจรักษาคนไข้ที่ไหนก็ได้ทั่วโลกเพราะสรีระคนย่อมเหมือนกัน แต่นักประเมินที่สามารถแต่ไม่เคยอยู่ในประเทศหนึ่งก็ไม่สามารถไปประเมินในประเทศนั้นได้ ในทางสากลเราจึงยอมรับกันเช่นนี้ ไม่มีทางนำเข้านักประเมินจากที่ไหนมาทำงานได้ เว้นแต่ต้องพัฒนานักประเมินของเราเอง ปัจจุบัน ไทยมีนักประเมินที่มีชื่อเสียง มีความสามารถและได้รับการศึกษาระดับสากลหลายท่าน ภารกิจของเราก็คือการสร้างคนเหล่านี้เพิ่มขึ้น กรณีนักประเมินกระทำผิด/ถูกจับเพราะฉ้อโกงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ทั่วโลก แม้ในประเทศที่ถือว่ามีมาตรฐานดีที่สุด นี่เป็นเรื่องของบุคคลซึ่งมีได้ในทุกวงการ แม้ในวงการที่มีการควบคุมแน่นอน เช่น แพทย์ วิศวกร สถาปนิก ฯลฯ การฉอโกงอาจกระทำผู้เดียว ร่วมกับลูกค้า หรือกระทำร่วมกันทุกฝ่ายทั้งพนักงานสถาบันการเงิน/เจ้าหน้าที่รัฐ ถือเป็นความโชคร้ายที่ผู้ถูกจับเป็นเพื่อนร่วมวิชาชีพของผม แต่นักเป็นความโชคดีที่บริษัทที่ถูกจับเป็นบริษัทที่ได้ชื่อว่าเป็นบริษัทข้ามชาติ ไม่เช่นนั้นบริษัทไทย ๆ และวงการประเมินไทยคง "ป่นปี้" ไปกว่านี้ เมื่อประเมินผิดพลาดไป นักประเมินไม่อาจปฏิเสธความรับผิดชอบและการลงโทษได้ การลงโทษต้องพิจารณาตามฐานานุรูปว่าเป็น "ตัวการ" หรือ "ผู้สนับสนุน" ด้วย ใช่ว่านักประเมินจะต้องเป็น "แพะรับบาป" แต่เพียงฝ่ายเดียว ระดับวิจารณญาณการใช้งานประเมินค่าทรัพย์สินในสังคมย้งต่ำ เราต้องยอมรับว่าผู้ใช้งานประเมินส่วนมาก แทบไม่เคยคำนึงถึงงานประเมินในฐานะงานวิจัยมูลค่าเพื่อประกอบการตัดสินใจ แต่มักใช้เพียงตัวเลขมูลค่า (ที่ตนคาดหวัง) เพื่อเป็นทางผ่านในธุรกิจที่คิดไว้ล่วงหน้าเท่านั้น แนวทางการพัฒนามาตรฐานวิชาชีพ เกี่ยวข้องกับประเด็น 4 ประการคือ การจัดการศึกษา การควบคุมมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณ องค์กรควบคุมทางวิชาชีพและฐานข้อมูลเพื่อการประเมินค่าทรัพย์สิน 1. การจัดการศึกษา
| ||||||||||||||||||||||||||||
| ||||||||||||||||||||||||||||
แต่ละวิชา อาจกำหนดให้เป็นวิชาเลือกและวิชาบังคับสำหรับนักประเมินแต่ละระดับ นอกจากนี้ยังมีกำหนดให้นักประเมินจัดส่งตัวอย่างรายงานให้องค์กรควบคุมวิชาชีพตรวจสอบมาตรฐานปีละ 3-5 รายการ
สำหรับค่าใช้จ่ายเพื่อการนี้ อาจคิดจากรายรับจากค่าประเมินร้อยละ 2 ของนักประเมิน นอกจากนี้สถาบันที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชนก็ล้วนยินดีให้การสนับสนุนทั้งสถานที่และการเงิน นอากจากนี้ในกรณีจำเป็น อาจจัดให้มีการทดสอบพนักงานประเมินในปัจจุบันโดยใช้ข้อสอบของสถาบันนานาชาติที่เกี่ยวข้องเพื่อแสดงให้เห็นชัดเจนว่า นักประเมินไทยไม่ได้ต่ำกว่ามาตรฐาน |
|
3. องค์กรควบคุมทางวิชาชีพ แนวคิดองค์กรควบคุมก็คือการมีตัวแทนของนักประเมินจากทุกส่วนเป็นตัวแทน และความเป็นอิสระมีความเห็นที่เป็นกลาง ทั้งนี้ส่วนหนึ่งอาจมีภาคราชการกำกับหรือมีกฎหมายกำกับ และแม้จะยังไม่มีก็สามารถควบคุมกันเองอย่างโปร่งใสได้ถ้าร่วมใจกัน ต่อโครงสร้างองค์กร ควรมีคณะกรรมการบริหาร ที่ประกอบด้วยตัวแทนจากทุกฝ่ายทั้งภาครัฐบาล สถาบันการเงินและบริษัทเอกชนที่รอบรู้ด้านการประเมินค่าทรัพย์สิน นอกจากนี้ยังควรมีคณะที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิ ถัดจากคณะกรรมการบริหาร ก็ควรมีการตั้งคณะอนุกรรมการฝ่ายต่าง ๆ เช่น ฝ่ายวิชาการ-ฝึกอบรม เผยแพร่ สมาชิก มาตรฐานวิชาชีพ รับเรื่องราวร้องทุกข์ และควบคุมการปฏิบัติงาน เป็นต้น นอกจากนี้ยังควรมีการจัดตั้งกลุ่มตัวแทนตามที่มาของนักประเมิน เช่น กลุ่มนักประเมินจากบริษัทประเมิน สถาบันการเงิน กรมที่ดิน สถาบันศึกษา เป็นต้น การควบคุมภายในของแต่ละองค์กรต้องมีการกำหนดมาตรการที่ชัดเจน ตั้งแต่การคัดเลือกพนักงาน การอบรมภายใน การสุ่มตรวจสอบงานทุกร้อยละ 5-10 โดยมุ่งหวังให้นักประเมินมีความเป็นอิสระทางวิชาชีพและความเป็นกลางทางวิชาการโดยเคร่งครัด องค์กรควบคุมต้องได้รับมอบอำนาจจากภาคราชการและนักประเมินทั้งหลายให้สามารถรับสมาชิกที่มีคุณภาพ มีการลงโทษตามควรแก่ฐานานุรูป |
4. ฐานข้อมูลเพื่อการประเมินค่าทรัพย์สิน ข้อมูลเหล่านี้ได้แก่
นอกจากนี้ควรมีการกำหนดให้มีการประเมินค่าทรัพย์สินอย่างถูกต้องทุกครั้งที่มีการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ซึ่งอาจเริ่มจากทรัพย์สินที่มีมูลค่า 1 ล้านบาทขึ้นไปก่อน เพื่อให้มีจำนวนไม่มากเกินไปนัก การนี้จะทำให้มีฐานข้อมูลที่ถูกต้อง ต่อเนื่อง โดยค่าใช้จ่ายมาจากรัฐบาล ด้วยรัฐบาลจะได้ภาษีมากขึ้นนั่นเอง สิ่งจำเป็นเร่งด่วน
|
No comments:
Post a Comment