ความรู้พื้นฐานเรื่องการประมาณราคา
บทที่ 1 ความรู้พื้นฐานเรื่องการประมาณราคา
1.1 บทนำ
การประมาณราคา (Cost Estimate) ความหมายของการประมาณราคาการประมาณราคา หมายถึง การคำนวณหาปริมาณวัสดุ ค่า แรงและค่าดำเนินการที่ราคาใกล้เคียงกับค่าใช้จ่ายจริงมากที่สุด ในการแยกรายการวัสดุ ค่าแรง ค่าใช้จ่ายเครื่องมือเครื่องจักร และค่าใช้จ่ายอื่นที่เกี่ยวข้องกับงานโดยมีผลกับตัวแปรตามในด้านระยะเวลาของการทำงาน ดังนั้นการประมาณราคาจึงไม่ใช่ราคาที่แท้จริง แต่อาจใกล้เคียงกับราคาจริง ซึ่งไม่ควรจะผิดพลาดไปจากราคาที่แท้จริงเกินกว่า 10 %
การประมาณ หมายถึง การวิเคราะห์ การให้ความเห็น การพยากรณ์ หรือการคาดหมายล่วงหน้า ดังนั้นการประมาณต้นทุนจึงเป็นการวิเคราะห์ หรือการให้ความเห็นเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในกระบวนการทำงานหรือกระบวนการผลิต ซึ่งอาจเป็นการทำผลิตภัณฑ์ การจัดทำโครงการ หรือการผลิตงานบริการ
การประมาณ (คำนาม) หมายถึง การประเมินค่าแบบให้ออกมาในรูปของค่าใช้จ่าย หรือให้เป็นจำนวนหรือเป็นมูลค่า
การประมาณ (กริยา) หมายถึงประเมินค่า กำหนดค่า หรือตีราคา
การประมาณราคา เป็นงานที่เป็นทั้งศาสตร์และศิลปะ ผู้ประมาณราคาต้องมีความรู้ทางวิชาการ ความรู้ทางด้านการผลิต หรือการก่อสร้างเกี่ยวกับงานที่ทำการประมาณราคา ความรู้ทางด้านวัสดุ และมาตรฐานของวัสดุแต่ละประเภท ความรู้ทางด้านสถิติ ฯลฯ ในโครงการขนาดใหญ่ ความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติที่บริเวณก่อสร้าง และบริเวณที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติ ความรู้เกี่ยวกับเครื่องจักร และแรงงาน กฎระเบียบและธรรมเนียมปฏิบัติที่ใช้ในบริเวณสถานที่ก่อสร้าง
ดังนั้นการประมาณการที่สมเหตุสมผลที่สุด ผู้ประมาณราคาจึงต้องมีระบบเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการทำงานและราคาที่ทันสมัย และทราบถึงปัญหาและอุปสรรคที่อาจบังเกิดขึ้น เพื่อคิดเป็นค่าใช้จ่ายรวมอยู่ในงาน
1.2 ความหมายและการประมาณราคาค่าก่อสร้างโดยทั่วไป
การประมาณราคามีความหมายในตัวเองอยู่แล้วคือ ไม่ใช่ราคาที่แท้จริงหรือถูกต้องตรงกับราคาของค่าก่อสร้างจริงเป็นเพียงราคาโดยประมาณ หรือใกล้เคียงกับความเป็นจริง เพราะเมื่อก่อสร้างเสร็จแล้ว ก็จะไม่ปรากฏว่าราคาค่าก่อสร้างนั้นตรงกับราคาที่ได้ประมาณการไว้เลย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเหตุผลหลายประการคือ
· ปริมาณวัสดุตามที่ได้ประมาณการไว้โดยที่ได้เผื่อการเสียหายแล้วนั้นไม่ตรงกับที่ใช้ในการก่อสร้างจริง
· ราคาวัสดุตามที่ได้ประมาณการไว้ไม่ตรงกับที่ซื้อมาใช้ในการก่อสร้างจริง
· ค่าแรงงานก่อสร้างตามที่ได้ประมาณการไว้ไม่ตรงกับที่ว่าจ้างก่อสร้างจริง
· ค่าใช้จ่ายต่างๆ ตามที่ได้ประมาณการไว้ไม่ตรงกับที่ใช้จ่ายในการก่อสร้างจริง
· ฯลฯ
1.3 วัตถุประสงค์และประเภทของการประมาณราคา
วัตถุประสงค์ในการประมาณราคา แบ่งตามการใช้งานของบุคลากรในโครงการได้ดังนี้ คือ
· เจ้าของโครงการ หรือผู้บริหารโครงการ
วัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการตั้งงบประมาณ วางแผนการลงทุนโครงการ พิจารณาผลประโยชน์ของโครงการเพื่อดูความเหมาะสมในการลงทุน
· ผู้ออกแบบ
วัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการควบคุมงบประมาณโครงการ และจัดทำราคากลางเพื่อการประกวดราคาก่อสร้าง
· ผู้รับจ้างก่อสร้าง
วัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการประมาณราคาเพื่อการประกวดราคาก่อสร้าง
· ผู้ควบคุมงาน
วัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการพิจารณารายละเอียดงานเพิ่ม-ลด ในระหว่างการก่อสร้าง
จุดประสงค์ในการประมาณราคา
1. เพื่อทำงบประมาณก่อสร้างในขั้นต้น
2. เพื่อให้เจ้าของโครงการใช้เป็นราคากลาง
3. เพื่อให้ผู้รับเหมาเสนอประมูลราคา
4. เพื่อหาต้นทุนให้แก่ผู้รับเหมา
5. เพื่อแยกรายการ ราคาวัสดุในการซื้อสิ่งของในการก่อสร้างและค่าแรงงานก่อสร้าง
ประโยชน์ของการประมาณราคา
1. เพื่อกู้วงเงินค่าก่อสร้างของเจ้าของงานหรือผู้รับเหมา
2. เพื่อเสนอราคารับงานก่อสร้างจากผู้รับเหมา
3. เพื่อสั่งซื้อวัสดุและรู้ค่าแรงงานในการก่อสร้าง
4. เพื่อแบ่งงวดเงินค่าก่อสร้าง
5. เพื่อแก้ไขเพิ่มเติม เปลี่ยนแปลง ลดในงานก่อสร้าง
6. ช่วยตรวจสอบข้อผิดพลาดหรือ หลงลืมของสถาปนิก วิศวกร
7. ให้เป็นแนวการทำงานให้ผู้รับเหมา
8. ให้ราคาที่แน่นอนไม่เปิดโอกาสให้ผู้รับเหมาถือโอกาส
9. ลดปัญหาข้อขัดแย้งในกรณีข้อผิดพลาดที่มองไม่เห็น
ประเภทของการประมาณราคา แบ่งได้เป็นประเภท ต่าง ๆ ดังนี้ คือ
· การประมาณราคาแบบสังเขป
· การประมาณราคาแบบละเอียด
1.4 ความละเอียดถูกต้องในการประมาณราคา
ประเภทและความละเอียดถูกต้องในการประมาณราคา
· การประมาณราคาเพื่อการวางแผน (Estimates for Conceptual Planning)
· การประมาณราคาเพื่อการศึกษาความเหมาะสมของโครงการ (Estimates for Feasibility)
· การประมาณราคาระหว่างการออกแบบ (Estimates during Engineering and design)
· การประมาณราคาเพื่อการก่อสร้าง (Estimates for Construction)
· การประมาณราคาเพื่อการเปลี่ยนแปลงงาน(Estimates for Change Orders)
ภาพแสดงความละเอียดถูกต้องในการประมาณราคา
Estimate Class
Level of Project
End Usage
Expected
Definition
(Typical Purpose)
Accuracy Range
Class 5
0 % to 2 %
Concept Screening
-50 % to 100%
Class 4
1 % to 5 %
Study or Feasibility
-30 % to +50%
Class 3
10 % to 40 %
Budget, Authorization or Control
-20 % to +30%
Class 2
30 % to 70 %
Control or Bid
-15 % to +20%
Class 1
50 % to 100 %
Check Estimate or Bid/Tender
-10 % to +15%
*AACE International Cost Estimation Classifications (18R-97)
* AACE : The Association for the Advancement of Cost Engineering
1.5 ความแตกต่างของต้นทุน (Cost) และราคา (Price)
ต้นทุน หมายถึง ผลรวมของทรัพยากรที่จะต้องใช้เพื่อการผลิตและนำผลิตภัณฑ์นั้นออกจำหน่ายหรือใช้ประโยชน์
ราคา หมายถึง มูลค่าที่จะนำไปใช้ในลักษณะของการตลาด ราคาอาจจะเท่ากับต้นทุนหรือราคาอาจจะถูกปรับปรุงให้ตรงกับความต้องการของตลาด ราคาเป็นคุณค่าที่ผู้ทำผลิตภัณฑ์เป็นผู้กำหนด และปรกติราคาจะสูงกว่าต้นทุนการผลิตและการจำหน่าย โดยมีการบวกกำไรที่คาดหวังเข้าไปในราคานั้นแล้ว
ราคากลางคือ ราคามาตรฐานที่ใกล้เคียงความจริงซึ่งสามารถก่อสร้างหรือจัดหาได้จริง และใช้เป็นฐานสำหรับเปรียบเทียบราคาที่ผู้เข้าประกวดราคายื่นเสนอ
1.6 องค์ประกอบของราคา
องค์ประกอบของราคา ประกอบด้วย
· วัสดุ
- วัสดุธรรมชาติ
- แหล่งวัสดุ
- วัสดุจากการผลิต
- แรงงานในการผลิต
- เครื่องจักรในการผลิต
- แรงงานในการลำเลียง
- ค่าขนส่ง
- ความสูญเสีย
· ค่าแรง
- แรงงานคน
- เครื่องมือ
- เครื่องจักร
· ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ (Factor F)
- ค่าดำเนินการ
- กำไร
- ภาษี
- ดอกเบี้ย
- ฯลฯ
· เวลา
1.7 ข้อมูลในการประมาณราคาการก่อสร้างประกอบด้วย
1.7.1 แบบและรายการประกอบด้วย
1) แบบแปลนด้านสถาปัตยกรรม
2) แบบแปลนด้านวิศวกรรม
1.7.2 รายการประกอบแบบก่อสร้างประกอบด้วย
1) รายการประกอบแบบก่อสร้างอย่างละเอียด
2) รายการประกอบแบบก่อสร้างโดยย่อ
1.7.3 สัญญาการก่อสร้างประกอบด้วย
1) เรื่องของสัญญา สถานที่ทำสัญญา
2) วัน เดือน ปี ที่ทำสัญญา
3) ผู้ทำสัญญาระหว่างใครกับใคร ซึ่งจะต้องระบุ ชื่อ สกุล สัญชาติ เชื้อชาติ อายุ อาชีพ ตลอดจนที่อยู่อาศัยให้ละเอียดชัดเจน
4) วงเงินที่ทำสัญญากันไว้
5) ระบุผู้จัดหาและดำเนินการเกี่ยวกับวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้าง แรงงาน ตลอดจนเครื่องมือเครื่องใช้
6) ระบุอำนาจของผู้ว่าจ้างหรือตัวแทนให้ชัดเจน
7) กำหนดวันลงมือทำการก่อสร้าง และวันเสร็จของอาคารนั้น พร้อมทั้งรวมระยะเวลาการก่อสร้างว่าเป็นเวลากี่วัน
8) ระบุการจ่ายค่าเสียหายทดแทน (ค่าปรับ) หากมีการผิดสัญญาตามข้อ 7)
9) ระบุการแบ่งงวดการจ่ายเงินค่าก่อสร้างไว้อย่างชัดเจนว่า ทำการก่อสร้างได้งานแล้วเสร็จถึงอะไร ผู้ว่าจ่างจะต้องจ่ายเงินเท่าใดเป็นงวดๆ
10) บ่งถึงการเลิกสัญญาว่า จะเลิกสัญญากันได้เพราะเหตุใดบ้าง และเมื่อใด
11) มีช่องลงลายเซ็นท้ายสัญญาของผู้ว่าจ้างและผู้รับจ้าง พร้อมพยานอย่างน้อย 2 นาย และเขียนสัญญาอีก 1 นายผู้ประมาณการจะต้องศึกษาข้อตกลง หรือสัญญานี้ให้ละเอียดก่อนลงมือประมาณราคา เพราะข้อสัญญาต่างๆ ตามความต้องการของผู้ว่าจ้าง จะมีผลกระทบต่อราคาก่อสร้าง
1.8 ข้อมูลที่มีผลกับการประมาณราคา
1. ตำแหน่งสถานที่ก่อสร้าง การคมนาคมเข้าออก
2. ลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะดินในส่วนงานก่อสร้าง
3. ลักษณะสภาพภูมิอากาศ ฤดูกาล เวลา
4. ข้อกำหนดของค่าจ้างแรงงาน ข้อบังตับแรงงานท้องถิ่น การหาแรงงานในท้องถิ่น
5. วันหยุดงานในช่วงก่อสร้างตามเทศกาลต่างๆ
6. ราคาวัสดุก่อสร้างในท้องถิ่นใกล้เคียง
7. การจัดหาแหล่งเงินทุน พร้อมกับด้านเงินทุนหมุนเวียน
8. สถานการณ์ทางด้านเศรษฐกิจและการเมือง
1.9 ปัจจัยที่มีผลกับผู้ประมาณราคา
1. การหาข้อมูลขั้นแรก ( ไปดูสถานที่ก่อสร้าง ) ผู้ประมาณราคาควรไปดูสถานที่ก่อสร้างจริงเสียก่อน เพื่อพิจารณาศึกษาเกี่ยวกับสภาพของที่นั้นๆ
2. ปริมาณวัสดุจาการถอดรูปแบบรายการ โดยที่เผื่อการเสียหายแล้วไม่ตรงกับการก่อสร้างจริง
3. ราคาที่ใส่ในวัสดุที่ถอดแบบรูปรายการไม่ใช่ราคาที่ซื้อได้จริงขณะก่อสร้างจริง
4. ค่าแรงงานที่ประมาณการไว้แล้วไม่สามรถจ้างแรงงานในราคาที่ประมาณการไว้ได้ในขณะก่อสร้างจริง
5. ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่ประมาณการไว้ไม่ตรงกับค่าใช้จ่ายก่อสร้างจริง
1.10 ข้อมูลที่มีผลกับการประมาณราคา
1. ตำแหน่งสถานที่ก่อสร้าง การคมนาคมเข้าออก
2. ลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะดินในส่วนงานก่อสร้าง
3. ลักษณะสภาพภูมิอากาศ ฤดูกาล เวลา
4. ข้อกำหนดของค่าจ้างแรงงาน ข้อบังตับแรงงานท้องถิ่น การหาแรงงานในท้องถิ่น
5. วันหยุดงานในช่วงก่อสร้างตามเทศกาลต่างๆ
6. ราคาวัสดุก่อสร้างในท้องถิ่นใกล้เคียง
7. การจัดหาแหล่งเงินทุน พร้อมกับด้านเงินทุนหมุนเวียน
8. สถานการณ์ทางด้านเศรษฐกิจและการเมือง
1.11 ข้อควรพิจารณาเพื่อเป็นแนวทางในการประมาณราคา
1) เตรียมการ
· ศึกษา แบบ ข้อกำหนด และเอกสารประกวดราคา
· จัดแบ่งหมวดหมู่ของงาน
· จัดทำบัญชีแสดงปริมาณวัสดุและราคา
2) การดำเนินงาน
· ถอดแบบ
· จัดทำต้นทุนต่อหน่วย
· พิจารณาค่า Factor “F” ที่เหมาะสม สรุปเป็นราคาโครงการ
· ตรวจทาน
3) การเก็บข้อมูล
· รวบรวมราคางานที่ได้จัดทำไว้ แยกเป็นหมวดหมู่
· มีระบบการจัดเก็บที่ดี
· ติดตามผลการประกวดราคา เปรียบเทียบราคากับราคากลาง
4) การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
1.12 แบบฟอร์มที่ใช้ในการประมาณราคา
1) แบบฟอร์ของทางราชการ
แบบฟอร์ม ปร. 1 ใช้ประมาณการถอดแบบหาปริมาณงานและวัสดุทั่วไป
แบบฟอร์ม ปร. 2 ใช้ประมาณการถอดแบบงานคอนกรีต ไม้แบบ ไม้ค้ำยันและเหล็กเสริม
แบบฟอร์ม ปร. 3 ใช้ประมาณการถอดแบบงานไม้
แบบฟอร์ม ปร. 4 ใช้สำหรับรวมปริมาณงานแต่ละประเภท
แบบฟอร์ม ปร. 5 ใช้สรุปราคาค่าก่อสร้าง
แบบฟอร์ม ปร. 6 ใช้สรุปราคาค่าก่อสร้าง กรณีมีการก่อสร้างหลายงานหรือใช้เปรียบเทียบราคา
2) แบบฟอร์มตามระบบคุณภาพของบริษัท
แบบฟอร์ม FM-WI-QTY-01 เป็นแบบฟอร์มทั่วไปในการถอดแบบ
แบบฟอร์ม FM-WI-QTY-02 เป็นแบบฟอร์มใช้ในการถอดแบบเหล็กเสริม
แบบฟอร์ม FM-WI- QTY-03 เป็นแบบฟอร์มทั่วไปในการถอดแบบหรือบันทึกข้อความ
แบบฟอร์ม FM-WI- QTY-04 เป็นแบบฟอร์มทั่วไปในการถอดแบบที่มีการวาดภาพหรือติดภาพประกอบ
3) Back up Sheets
Back up Sheets คือ กระดาษคำนวณแสดงที่มา ของปริมาณวัสดุ หรือต้นทุนต่อหน่วยของงานแต่ละประเภท
Back up Sheets ที่ดี ควรมีความละเอียด ชัดเจน และแสดงแหล่งที่มาของข้อมูล
1.13 คุณสมบัติของผู้ประมาณราคา
ผู้ประมาณราคา ต้องมีความรู้ความสามารถในหลายด้านซึ่งต้องใช้ความรู้ความชำนาญและประสบการณ์ รวมทั้งมีเทคนิคเฉพาะตัวอย่างสูง ซึ่งจะได้มาซึ่งราคาที่ใกล้เคียงในการก่อสร้างจริงมากที่สุด ดังนั้นคุณสมบัติของผู้ประมาณราคาควรมีดังนี้
1. ต้องมีความรู้ทางด้านรูปแบบรายการที่จะแยกวัสดุ
2. มีความรู้เรื่องวัสดุก่อสร้างเป็นอย่างดี
3. ต้องมีความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์
4. มีความรู้ความชำนาญในงานที่ประมาณราคาเป็นอย่างดี
5. มีความรู้ในเรื่องแบบรูปแบบรายการที่ประมาณราคาที่สามารถแยกรายละเอียดของานใหญ่ออกเป็นงานย่อยๆ ได้ละเอียดมากขึ้น
6. มีความรู้เรื่องวัสดุก่อสร้างที่ใช้ประมาณราคาเป็นอย่างดี
7. มีความละเอียดรอบคอบในการเก็บรวบรวมข้อมูลอย่างมีระบบ และมีปฏฺภาณไหวพริบในการประยุกต์โดยการนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมข้อมูลมาใช้ประมาณราคาได้รวดเร็วและถูกต้อง
8. มีหลักการในการวินิจฉัย ช่างสังเกตที่ดีเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมในสถานที่ก่อสร้าง
9. มีความรู้และความเข้าใจที่สามารถศึกษาเอกสาร สัญญา รายการประกอบแบบก่อสร้าง ที่จะมีผลกับรายการก่อสร้างในด้านงานที่จะต้องเสร็จตามกำหนดเวลา ถ้างานไม่สร็จตามกำหนดเวลาจะต้องมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ เพิ่มขึ้น เช่น ค่าปรับ เป็นต้น
No comments:
Post a Comment